เมื่อเลือกซื้อเครื่องใช้ในครัวเข้าบ้าน หลายคนอาจตั้งข้อสงสัยว่าระหว่าง กระทะก้นลึก กับ กระทะก้นแบน แบบใดเหมาะกับเรามากกว่า? เพราะกระทะทั้ง 2 ประเภทก็สามารถใช้งานเพื่อทำอาหารได้เหมือนกัน แตกต่างกันเพียงลักษณะภายนอก และขนาดเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เองเราจึงนำข้อแตกต่างของกระทะทั้ง 2 แบบ มาให้ทุกคนได้ทำความรู้จัก รับรองว่าได้กระทะถูกใจกับเมนูที่ชอบแน่นอน
กระทะก้นลึก กับ กระทะก้นแบน แตกต่างกันอย่างไร?
- ใช้งานกับเมนูอาหารที่แตกต่างกัน
ถ้าใครชอบดูรายการทำอาหาร จะพบเลยว่าเชฟชาวจีนเลือกใช้กระทะก้นลึกมากกว่ากระทะก้นแบน เหตุผลเพราะรูปทรงของกระทะเหมาะกับเมนูผัดเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นเมนูพื้นฐานอย่าง ข้าวผัด หรืออาหารขึ้นชื่ออย่างหมาโผโต้วฟุ เนื่องจากตัวกระทะมีคุณสมบัติกระจายความร้อนได้เป็นอย่างดี ทั้งยังช่วยป้องกันไม่ให้อาหารในกระทะหกง่าย ๆ ที่สำคัญเมนูทอดต่าง ๆ ก็ใช้งานได้ดีกับกระทะก้นลึก เพราะสามารถทอดเนื้อสัตว์ขนาดใหญ่ เช่น ปลากะพง, เนื้อ, ทอดมัน ฯลฯ จึงไม่แปลกใจนักว่าทำไมร้านอาหารจำนวนมากเลือกใช้งานกระทะแบบนี้ เนื่องจากการทำเมนูได้หลากหลายนั่นเอง
ส่วนกระทะก้นแบน เหมาะกับการทำอาหารสไตล์ยุโรป เช่น สเต็กปลา, รีซ็อตโต้, สปาเกตตี หรืออาหารไขมันต่ำ เพราะตัวกระทะไม่ต้องการน้ำมันมากนักในการทำอาหาร จึงไม่แปลกใจว่าทำไมอาหารที่ทำจากกระทะประเภทนี้ มีไขมันค่อนข้างน้อย ทำให้เวลาทำกับข้าว ไม่จำเป็นต้องเปิดไฟแรง
- การติดกระทะ
เมื่อเปรียบเทียบตรงจุดนี้จะพบว่ากระทะก้นแบนอาหารติดกระทะน้อยกว่า จึงช่วยให้ทำความสะอาดง่าย ตรงข้ามกับกระทะก้นลึกอย่างสิ้นเชิง ส่วนหนึ่งเพราะกระทะก้นแบนมีสารเทฟลอนหรือสารอื่น ๆ เคลือบอยู่ จึงเป็นเรื่องยากที่จะมีอาหารติดกระทะ ที่สำคัญกระทะก้นตื้นน้ำหนักเบากว่ากระทะก้นลึกค่อนข้างมาก การขนย้ายจึงเป็นเรื่องง่าย ไม่ต้องการพื้นที่จัดเก็บมากนัก อย่างไรก็ดีกระทะก้นลึกรุ่นใหม่ ๆ ก็ได้ใช้สารเคลือบบนผิวกระทะเช่นกัน
แนะนำ กระทะก้นลึก และชุดเครื่องครัวน่าสนใจใช้งานง่าย
- Ecowin
ชุดเครื่องครัวธีมสีเขียวรักธรรมชาติที่ประกอบไปด้วยกระทะก้นลึก , หม้อต้มแบบด้ามยาว, กระทะก้นแบน และหม้อต้มก้นหนา ใช้วัสดุแบบซิลิโคนระดับฟู้ดเกรดทั้งหมด มั่นใจได้เลยว่าปลอดภัยแก่ผู้รับประทานแน่นอน ด้านใต้ของเครื่องครัวทุกชิ้นเป็นเหล็กที่นำความร้อนได้เร็ว ที่สำคัญทำความสะอาดง่ายเพราะทุกชิ้นมีสารเคลือบป้องกันเศษอาหารติด
- Neoflam FiKa Reverse
ชุดเครื่องครัวกระทะและหม้อจากเกาหลี ประกอบไปด้วยกระทะก้นตื้น, กระทะก้นลึก หม้อมีด้ามจับ, หม้อทรงตื้น, และหม้อทรงลึก เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้มีไอเดียซื้อเครื่องครัวใหม่ยกชุดอย่างยิ่ง เพราะเป็นผลิตภัณฑ์รุ่นพรีเมียม กวาดรางวัลระดับโลก “Reddot 2020” มาแล้ว และด้านใต้ก้นเรียบจึงทำความสะอาดง่าย ที่สำคัญตัวชุดเครื่องครัวเหล่านี้ใช้งานกับเตาประเภทใดก็ได้ แถมยังมีเทคโนโลยีประหยัดพลังงาน Full Induction ซึ่งร้อนเร็วมากขึ้นถึง 170%
- Alechaung
กระทะสแตนเลสรูปทรงรังผึ้ง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 32 เซนติเมตร สูง 8 เซนติเมตร มีด้ามจับความยาว 22 เซนติเมตร มาพร้อมกับสารเคลือบกระทะที่ช่วยป้องกันไม่ให้อาหารติด ด้วยรูปทรงก้นลึกทำให้นำความร้อนได้ดี
วิธีทำความสะอาดและดูแลรักษา กระทะ ให้เอี่ยมอ่อง
- การล้างที่ถูกต้อง หลังจากใช้งานกระทะเสร็จสิ้นแล้ว ปัญหาหลักของกระทะประเภทนี้ คือ มักมีเศษอาหารติดกระทะค่อนข้างแน่น ก่อนทำความสะอาดจึงควรแช่ไว้ในน้ำก่อนประมาณครึ่งชั่วโมง เพื่อช่วยให้เราขัดถูได้ง่าย โดยอาจใช้ฝอยขัดหม้อเพื่อทุ่นแรง
- สนิมที่มาพร้อมกับการเผากระทะเหล็ก สำหรับกระทะเหล็กก้นกว้างมักนิยมนำไปเผาก่อนเริ่มใช้งาน เพราะกระทะดังกล่าวมักมีสารเคลือบสนิมติดออกมาจากโรงงานด้วย ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้รับประทานอาหาร โดยหลังจากเผากระทะเสร็จสิ้น กลิ่นของอาหารที่ทำจากกระทะเหล็กจะมีกลิ่นหอมอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่ก็แลกมาด้วยกระทะเป็นสนิมง่ายขึ้นเช่นกัน ดังนั้นหลังใช้งานกระทะเหล็กเสร็จ ควรนำไปแช่ในน้ำมันก่อน เพื่อป้องกันการเกิดสนิมนั่นเอง
- คราบกระทะดำ เมื่อใช้งานกระทะเป็นเวลานาน ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องเจอปัญหากระทะดำไม่ว่าเราจะขัดถูอย่างไรก็เอาคราบไม่ออก ซึ่งวิธีแก้ปัญหาก็ง่าย ๆ เพียงแค่หาซื้อสารที่มีชื่อว่า“ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์” และใช้งานควบคู่ไปกับเบกกิ้งโซดา โดยขั้นตอนขัดคราบรอยดำ ก็ง่ายมาก แค่ฉีดสารไฮโดรเจนลงบนกระทะแล้วทิ้งไว้เป็นเวลา 5 นาที จากนั้นลงเบกกิ้งโซดาตาม เท่านี้ก็ได้กระทะขาวเงางามเหมือนใหม่แล้ว
- ระวังการใช้ฝอยเหล็กขัด แม้ว่ากระทะก้นลึกส่วนใหญ่ที่ขายตามท้องตลาดไม่ได้เคลือบสารเทฟลอน แต่ก็มีกระทะบางรุ่นที่มีสารเคลือบบนผิวหน้ากระทะคล้ายกับกระทะก้นแบนอยู่ ทำให้เมื่อเจอฝอยขัดหม้อหรือตะหลิว จะทำให้เป็นรอยขีดข่วนบนกระทะ ส่งผลให้อายุการใช้งานสั้นลง ดังนั้นเมื่อซื้อกระทะใหม่มา ควรอ่านคู่มือประกอบด้วย เพราะไม่ใช่ว่า กระทะก้นลึก ทุกรุ่นจะทำความสะอาดได้เหมือนกันหมด
อย่างไรก็ตามสารเทฟลอน หรือสารอื่น ๆ ที่ทำหน้าที่เคลือบกระทะไม่ได้อันตรายต่อสุขภาพเหมือนกับที่หลายคนเข้าใจ และไม่ได้เป็นสารก่อมะเร็งด้วย ซึ่งกระทะแต่ละประเภทก็มีข้อดี-ข้อเสียแตกต่างกัน ทำให้ก่อนเลือกซื้อกระทะ ควรเช็กให้แน่ใจว่าเราชื่นชอบกับการทำอาหารแบบใด เพื่อให้เลือกกระทะได้ตรงกับความต้องการใช้งาน
ที่มาข้อมูล: micronware , frasersproperty , sgechem