คอบอลคงคุ้นเคยกับพรีเมียร์ลีกเป็นอย่างดี เนื่องจากเวลาถ่ายทอดสดตรงกับเวลาผู้ชมส่วนใหญ่ในบ้านเรากำลังอยู่ในช่วงเวลาพักผ่อนจากการทำงาน แถมสไตล์การเล่นของพรีเมียร์ลีกที่จัดหนัก จัดเต็มจึงเป็นที่นิยมของผู้ชมชาวไทยจำนวนมาก อีกทั้งยังมีสตอรี่ไซด์เข้ามาช่วยโปรโมทให้ผู้ชมติดตามด้วย ไม่ว่าจะเป็นศึกแดงเดือดหรือผีปะทะหงส์ อย่างไรก็ตามยังมีผู้ชมอีกจำนวนไม่น้อยที่สนใจติดตาม ฟุตบอลไทย เนื่องจากมีการพัฒนาวงการฟุตบอลอย่างเป็นระบบมากขึ้น ดังนั้นมาดูกันดีกว่าว่าบอลไทยเกิดขึ้นได้อย่างไร และทำไมถึงเป็นที่รู้จักมากขึ้น
ที่มาของ ฟุตบอลไทย มีมาตั้งแต่ยุคไหน
เดิมแล้วฟุตบอลไม่ได้เป็นกีฬาของไทย เพราะจุดกำเนิดของฟุตบอลอยู่ในทวีปยุโรป แต่เมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีนักเรียนที่ได้รับทุนพระราชทานไปเรียนต่อต่างประเทศมากมาย ทำให้ฟุตบอลเริ่มแพร่หลายในไทยโดยเฉพาะกลุ่มชนชั้นสูง จึงมีการก่อตั้งสมาคมฟุตบอลแห่งสยามขึ้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2459
หลังจากจัดตั้งสมาคมดังกล่าววงการกีฬาฟุตบอลไทย ก็เป็นที่นิยมในหมู่คนทั่วไปมากขึ้น จึงมีการส่งทีมไปแข่งขันโอลิมปิกเมื่อปี พ.ศ. 2499 เป็นครั้งแรก และนับแต่ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันระดับสากล ฟุตบอลของไทยก็พัฒนามากขึ้นจากกีฬาระดับสากลก็เข้าสู่ลีกท้องถิ่น
โดยในปี 2539 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยได้ริเริ่มแนวคิดพัฒนากีฬาฟุตบอลจากการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพสู่วงการกีฬามืออาชีพ จึงได้รวบรวมสโมสรฟุตบอลเข้าแข่งขันครั้งแรก 18 สโมสร และปี 2552 ได้มีการจัดตั้งบริษัทไทยพรีเมียร์ลีกจำกัด เพื่อรองรับการแข่งขันอย่างมืออาชีพ ซึ่งในตอนแรกสโมสรที่เข้าร่วมมีแต่โซนกรุงเทพและปริมณฑล กระแสตอบรับจึงไม่สูงมากนัก แต่เมื่อไทยพรีเมียร์ลีกปรับกลยุทธ์ใหม่โดยนำสโมสรต่างจังหวัดเข้าร่วมการแข่งขันมากขึ้น เช่น บุรีรัมย์ยูไนเต็ด ชลบุรีเอฟซี เป็นต้น ส่งผลให้ไทยลีกมีชื่อเสียงมากขึ้นในพื้นที่ต่างจังหวัดจากการเชิญชวนสโมสรเหล่านี้เข้ามา และ Thai League ได้มีการแบ่งระดับอยู่ 3 ชั้น ได้แก่ T1, T2 และ T3
- T1 คือ รวมสโมสรชั้นนำจากทุกภาคจำนวน 16 ทีม เช่น บุรีรัมย์ยูไนเต็ด แบงค็อก ยูไนเต็ด และชลบุรีเอฟซี เป็นต้น ซึ่งทีมในระดับ T1 นี้จัดว่ามีผู้เล่นยอดเยี่ยมอยู่มาก บางส่วนเคยเข้าร่วมฟุตบอลโลกมาแล้ว จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมเมื่อพูดถึง Thai League ต้องนึกถึง T1 ด้วยเหตุนี้เองจึงมีสินค้าถูกลิขสิทธิ์มาจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับเหล่าสโมสรจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเสื้อนักบอล, ลูกฟุตบอล, อาร์มแขน และรองเท้า
- T2 มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า M 150 Championship ถึงแม้ว่าเป็นลีกรองแต่ความดุเดือดของผู้เล่นนั้นเรียกได้ว่าจัดหนักจัดเต็ม เพราะทีมที่แข็งแกร่งอันดับ 1 – 2 จะได้เลื่อนชั้นสู่ลีก T1 แบบอัตโนมัติ ส่วนตั๋วใบสุดท้ายจะให้ทีมอันดับ 3 – 6 แข่งขันกัน ผู้ชนะจะได้รับตั๋วใบสุดท้ายไป ส่วน 2 ทีมสุดท้ายจะถูกลดชั้นลง T3 แน่นอนว่าด้วยจำนวนทีมใน T2 มีถึง 18 ทีม แต่มีเพียง 3 ทีมเท่านั้นที่ได้ไปต่อ และมี 2 ทีม ตกชั้น ทำให้ผู้ชมบางส่วนมองว่าลีก T2 ดุเดือดกว่า T1 เสียอีก
- T3 ชื่อรายการมีการเปลี่ยนตามผู้สนับสนุนหลัก โดยปี 2565 – 66 ผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการคือ กองสลากพลัส ทำให้ชื่อรายการถูกเรียกว่า กองสลากพลัสลีก สำหรับผู้ชนะแต่ละโซนจะได้รับสิทธิ์แข่งขันเพื่อเลื่อนชั้นสู่ T2 ส่วนสโมสรที่ตกชั้น T3 จะต้องไปเล่น “ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก”
อยากดูฟุตบอล ไทยลีก หาดูได้ที่ไหนดี
สำหรับ ไทยลีก นั้น ทุกคนสามารถรับชมได้ง่าย ๆ ผ่านสถานีโทรทัศน์ช่อง ททบ.5 หรือ PPTVHD ซึ่งทั้ง 2 ช่องนี้ได้รับลิขสิทธิ์ถ่ายทอดบางคู่แข่งขัน แต่หากชื่นชอบการแข่งขันฟุตบอลไทยและต้องการรับชมทุกคู่ทุกแมทช์แล้วล่ะก็ เราขอแนะนำให้สมัคร AIS Play เนื่องจากช่อง AIS ได้รับลิขสิทธิ์ถ่ายทอดบอลสดทุกแมทช์นั่นเอง
ที่สำคัญ AIS Play ยังถ่ายทอดสดลีกตั้งแต่ T1 – T3 อีกด้วย ถือว่าสะดวกอย่างมาก และสำหรับใครที่ไม่สะดวกรับชมถ่ายทอดสดก็สามารถชมแมทช์ย้อนหลังได้เช่นกัน ซึ่งในกรณีที่เป็นลูกค้า AIS รับชมได้สูงสุด 800 แมทช์ และลูกค้านอกเครือข่ายรับชมได้สูงถึง 400 แมทช์
ยิ่งไปกว่านั้นทาง AIS ไม่เพียงแต่จำกัดการรับชมไว้เพียงแอปพลิเคชันสมาร์ทโฟน แต่ยังรับชมผ่านเว็บไซต์ AIS, กล่อง AIS PlayBox และ Samsung Smart TV เรียกได้ว่าตอบโจทย์ผู้ชื่นชอบจอเล็กและจอใหญ่เลยทีเดียว
ฟุตบอลไทย เริ่มเล่นได้ไม่ยาก หาที่เล่นง่าย ๆ ก็ยังได้
กติกาของฟุตบอลไทยนั้น หากเล่นกับเพื่อนไม่จำเป็นต้องรวบรวมผู้เล่นให้ถึงฝ่ายละ 11 คน เหมือนฟุตบอลตามหลักสากลก็ได้ แต่อย่างน้อยผู้เล่นต้องมีฝ่ายละ 5 คน + 1 ผู้รักษาประตู (อ้างอิงกติกาฟุตซอล) ถ้าผู้เล่นน้อยกว่านี้จะเล่นฟุตบอลไม่สนุก เนื่องจากฝ่ายยิงมีโอกาสทำประตูง่ายเกินไปเพราะไม่มีผู้เล่นมากพอคอยแย่งลูก ใช้พื้นที่กว้างประมาณสนามบาสเกตบอลในร่มก็สามารถเล่นได้แล้ว
แต่ในกรณีที่เล่นจริงจังผู้เล่นฝ่ายละ 11 คน ควรเลือกใช้สนามกีฬาในร่มที่ได้มาตรฐาน มีพื้นหญ้ารองรับแรงกระแทกอย่างเหมาะสม และหากลงเล่นบนพื้นหญ้าไม่ว่าจะหญ้าเทียมหรือหญ้าจริงจำเป็นต้องใส่รองเท้าสตั๊ดเหมือนนักเตะตัวจริง เพราะรองเท้าจะช่วยยึดพื้นหญ้าเอาไว้ไม่ให้นักกีฬาลื่นไถลได้ จึงช่วยลดอาการบาดเจ็บที่จะเกิดขึ้นกับข้อเท้าได้
จะเห็นได้ว่าฟุตบอลในไทยเพิ่งเริ่มขึ้นมาได้ประมาณ 100 ปี แต่ความนิยมนั้นสูงกว่ากีฬาชนิดอื่น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะกติกาไม่ซับซ้อน ไม่จำเป็นต้องมีทักษะสูง ผู้เล่นมือใหม่ก็ลงเตะกับเพื่อนได้ง่าย ๆ และไม่จำเป็นต้องนำอุปกรณ์ใด ๆ ลงมาร่วมแข่งขัน มีเพียงเสื้อกางเกง และรองเท้าสตั๊ดเท่านั้น สำหรับผู้สนใจอยากเริ่มเล่นกีฬาฟุตบอลบ้าง แต่ยังไม่มีเสื้อผ้าและรองเท้าสามารถเข้าไปเลือกหาสิ่งที่ต้องการได้ที่ Lazada ได้เลย
ที่มาข้อมูล: educatepark , sites.google