หากพูดถึงวิธีการคุมกำเนิดที่ได้รับความนิยม “การกินยาคุม” เป็นวิธีคุมกำเนิดที่สะดวกที่สุด เพราะสามารถหาซื้อได้ง่ายและราคาไม่แพง รวมถึงเป็นวิธีป้องกันการตั้งครรภ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดถึง 99% เมื่อรู้จัก วิธีกินยาคุม อย่างถูกต้อง หากใครยังไม่อยากต้องใช้ที่ตรวจครรภ์ในช่วงเวลาทียังไม่พร้อม การรับประทานยาคุมเป็นทางเลือกที่หลายคนเลือกใช้ แต่การทานยาคุมก็มีผลข้างเคียงตามมาด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงควรศึกษาให้ถี่ถ้วนก่อน ดังที่เราจะนำมาฝากวันนี้
ยาคุมคืออะไร? ทำไมจึงคุมกำเนิดได้?
ยาคุมกำเนิดมีตัวยาที่ช่วยควบคุมฮอร์โมนเพศหญิงที่ช่วยป้องกันการตกไข่ โดยยาคุมกำเนิดในปัจจุบันมีให้เลือก 3 ประเภท คือ
- ยาคุมฮอร์โมนเดี่ยว คือ ยาคุมที่ประกอบไปด้วยฮอร์โมนโพรเจสเตอโรนที่ช่วยควบคุมฮอร์โมนเอสโตรเจน แม้จะให้ประสิทธิภาพในการป้องกันได้ไม่เท่ากับยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนเดี่ยว แต่ก็มีข้อดีคือเป็นยาคุมที่เหมาะกับหญิงที่อยู่ระหว่างการให้นม เพราะไม่ทำให้น้ำนมลดลง
- ยาคุมฮอร์โมนรวม ในยา 1 เม็ด ประกอบไปด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสโตเจน ซึ่งเป็นยาคุมที่สามารถป้องกันที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
- ยาคุมฉุกเฉิน คือยาคุมที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในยามที่มีเพศสัมพันธ์แบบไม่ได้ตั้งใจ หรืออุบัติเหตุทางเพศสัมพันธ์ เช่น ถุงยางรั่ว หรือรับประทานยาคุมกำเนิดแบบปกติไม่ต่อเนื่อง เป็นต้น
แม้ว่ายาคุมกำเนิดจะมีจุดประสงค์หลักเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์แต่ด้วยผลลัพธ์จากการรับประทานยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวมทำให้อาการปวดท้องระหว่างเป็นประจำเดือน สิวลดลง จึงทำให้หลายคนเลือกที่จะรับประทานยาคุมกำเนิดชนิดนี้เพื่อลดการเกิดอาการไม่พึงประสงค์
3 เทคนิคเลือกยาคุมที่เหมาะกับตัวเอง
หากต้องการรู้ว่าร่างกายของเราเหมาะกับยาคุมประเภทไหน สิ่งที่ควรทำคือการปรึกษาสูตินรีแพทย์ โดยจะต้องบอกเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์และประวัติการใช้ยา หรืออาหารเสริมที่รับประทานเป็นประจำ แต่หากต้องการประเมินตัวเองคร่าว ๆ เพื่อเลือกซื้อยาคุมกำเนิดด้วยตัวเอง มีเกณฑ์ง่าย ๆ ที่ช่วยเลือกยาคุมกำเนิดที่เหมาะสม มีดังนี้
- สุขภาพร่างกายปกติดี ไม่มีโรคประจำตัว ควรเลือกรับประทานยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวม
- หากอยู่ระหว่างให้นม ควรเลือกรับประทานยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนเดี่ยว
- หากมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง หรือมีคนในครอบครัวเป็นมะเร็ง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหาวิธีคุมกำเนิดที่เหมาะสม
แม้ว่ายาคุมจะไม่ได้ส่งผลเสียต่อร่างกายที่สุขภาพดี แต่หากพบประวัติการรักษาว่าเป็นผู้ป่วยมะเร็ง หรือกำลังให้นมบุตร การเลือกประเภทของยาคุมกำเนิดที่ไม่เหมาะกับสภาพร่างกายสามารถส่งผลเสียต่อร่างกายได้
เนื่องจากหากเป็นผู้ป่วยมะเร็งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะให้แนะนำให้คุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น เพราะการรับประทานยาคุมกำเนิดส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของเซลล์มะเร็งได้ ส่วนหญิงให้นมบุตรหากเลือกยาคุมผิดประเภทจะทำให้น้ำนมลดลง
อาการไม่พึงประสงค์จากการรับประทานยาคุมกำเนิด
เราได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์และข้อควรระวังเกี่ยวกับการรับประทานยาคุมกำเนิดมาสาว ๆ ที่กำลังตัดสินใจรับประทานยาคุมกำเนิดเพื่อประกอบการพิจารณา ดังนี้
- ลิ่มเลือดอุดตัน ยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดอุดตันได้โดยเฉพาะในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปี
- ภาวะหัวใจวาย เป็นหนึ่งในกลุ่มอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงที่มีอายุ 35 ปีและสูบบุหรี่เป็นประจำ หรือเป็นผู้ที่มีโรคประจำตัว
- ความดันโลหิตสูง ผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิดมีความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ ทำให้ผู้ที่เลือกคุมกำเนิดด้วยวิธีนี้จึงควรตรวจร่างกายอยู่เสมอ
- อารมณ์แปรปรวน เนื่องจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนไปทำให้เกิดภาวะอารมณ์แปรปรวนได้ง่าย รวมถึงมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้น
- ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นเมื่อใช้ยาคุมกำเนิดต่อเนื่องเป็นเวลานาน
ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่ต้องการวางแผนคุมกำเนิดระยะยาวและเป็นกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงทางด้านสุขภาพ สามารถเลือกคุมกำเนิดด้วยวิธีการอื่น ๆ ได้ เช่น การสวมถุงยาง, การใส่ห่วงคุมกำเนิด หรือทำหมัน เป็นต้น
วิธีกินยาคุม ที่ผู้หญิงควรรู้
แม้ว่าประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดจะสามารถป้องกันการตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจ แต่ก็ควรรับประทานให้ถูกต้อง โดยขอแบ่งวิธีการกินยาคุมออกเป็น 2 แบบ คือ
- ยาคุมฮอร์โมนเดี่ยวและฮอร์โมนรวม ควรรับประทานยาคุมกำเนิดเวลาเดียวกันทุกวัน แต่หากลืมรับประทานยา 1 วัน ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้ ส่วนเม็ดต่อไปให้ทานเวลาเดิมที่เคยทานประจำ และหากลืมมากกว่า 2 – 3 วัน ควรรับประทานเม็ดที่ลืมล่าสุดทันที แต่ไม่ต้องรับประทานเม็ดอื่นก่อนหน้า จากนั้นทานเม็ดต่อไปในเวลาเดิมที่เคยรับประทานพร้อมทั้งป้องกันการตั้งครรภ์ด้วยวิธีอื่นร่วมด้วย
- ยาคุมฉุกเฉิน การรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน ควรรับประทานหลังมีเพศสัมพันธ์ทันที 1 เม็ด หรือภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากมีเพศสัมพันธ์ และทานเม็ดต่อไปถัดจากเม็ดแรกภายใน 12 ชั่วโมง
ทั้งนี้การกินยาคุมกำเนิดอาจก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้ เช่น คลื่นไส้ ปวดหัว และอารมณ์เปลี่ยนแปลง เนื่องจากฮอร์โมนเปลี่ยนไป นอกจากนี้ผู้หญิงที่สูบบุหรี่ หรือมีโรค/ภาวะความดันโลหิตสูง หรือมีประวัติลิ่มเลือดอุดตัน อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะรับประทานยา ดังนั้นการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเลือกรับประทานยาคุมกำเนิดจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
การกินยาเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและสะดวกในการป้องกันการตั้งครรภ์และจัดการปัญหาด้านสุขภาพอื่น ๆ เช่น อาการปวดท้องระหว่างมีประจำเดือน หรือควบคุมฮอร์โมนเพศชายที่ก่อให้เกิดสิว เป็นต้น แต่ก็ควรเลือกยาคุมกำเนิดที่เหมาะสมและรับประทานอย่างถูกต้อง
ที่มาข้อมูล: si.mahidol , siphhospital , petcharavejhospital , tpa , paolohospital , pptvhd36 , pobpad