วันศารทวิษุวัต (Autumnal Equinox) อ่านว่า วัน-สาด-ทะ-วิ-สุ-วัด คือวันที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรโลก ดวงอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตกพอดี ทำให้เวลาช่วงกลางวันยาวนานเท่ากับช่วงกลางคืน เป็นช่วงเวลาที่ประเทศทางซีกโลกเหนือย่างเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง ส่วนซีกโลกใต้ย่างเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลินั่นเอง
วันศารทวิษุวัต ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ส่งผลต่อโลกอย่างไร
สำหรับปีนี้วันศารทวิษุวัตครั้งต่อไปเกิดขึ้นในวันที่ 23 กันยายน 2566 โดยวันศารทวิษุวัตจะครอบคลุม 3 เดือนตั้งแต่วันที่ 23 กันยายนไปถึงปลายเดือนธันวาคม
ศารทวิษุวัต คืออะไร อธิบายง่ายๆ ก็คือ เป็นวันที่กลางวันและกลางคืนมีเวลายาวเท่ากัน เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากโลกหมุนรอบตัวเองและแกนโลกเอียงเล็กน้อย เป็นสาเหตุให้เกิดฤดูกาลต่างๆขึ้น ตลอดเวลาที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ในระยะเวลา 1 ปี เนื่องจากโลกหันขั้วโลกเหนือและใต้เข้าหาดวงอาทิตย์สลับกัน พลังงานความร้อนที่กระทบกับผิวโลกแต่ละพื้นที่จึงไม่เท่ากัน ด้านที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์จะร้อนมากกว่าเกิดเป็นฤดูร้อน ส่วนด้านที่หันออกจากดวงอาทิตย์จะได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์น้อย จึงเข้าสู่ฤดูหนาวไปโดยปริยาย
การเปลี่ยนฤดูกาลของวันศารทวิษุวัตเป็นเรื่องปกติที่เกิดจากแกนโลกเอียงทำมุม 23.5 องศากับแนวตั้งฉากของโลก ตำแหน่งขึ้นและตกของดวงอาทิตย์จึงเปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับแนวโคจรของโลกเคลื่อนที่ไปรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี เป็นระยะเวลา 1 ปีพอดี ซึ่งจะเกิดปรากฏการณ์สำคัญ 4 ปรากฏการณ์ คือ
การเปลี่ยนฤดูกาลใน 1 ปี มีทั้งหมด 4 วัน เริ่มตั้งแต่
- วสันตวิษุวัต (Vernal Equinox) ในวันที่ 20 หรือ 21 มีนาคม
วันวสันตวษุวัต (วัน-วะ-สัน-ตะ-วิ-สุ-วัด) เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก และตกทางทิศตะวันตกพอดี ช่วงเวลากลางวันเท่ากับกลางคืน ประเทศทางซีกโลกเหนือย่างเข้าฤดูใบไม้ผลิ และซีกโลกใต้เข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง
- ครีษมายัน (Summer Solstice) ในวันที่ 21 หรือ 22 มิถุนายน
วันครีษมายัน (ครีด-สะ-มา-ยัน) เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด และตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด ช่วงเวลากลางวันยาวที่สุดในรอบปี ประเทศทางซีกโลกเหนือย่างเข้าฤดูร้อน และซีกโลกใต้ช่วงกลางวันจะสั้นที่สุดในรอบปี และซีกโลกใต้เข้าสู่ฤดูหนาว
- ศารทวิษุวัต (Autumnal Equinox) ตรงกับวันที่ 22 หรือ 23 กันยายน
ศารทวิษุวัต (สาด-ทะ-วิ-สุ-วัด) เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตกพอดี ช่วงเวลากลางวันเท่ากับกลางคืน ประเทศทางซีกโลกเหนือเข้าย่างฤดูใบไม้ร่วง ส่วนซีกโลกใต้เข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ
- วันเหมายัน (Winter Solstice) ตรงกับวันที่ 21 หรือ 22 ธันวาคม
วันเหมายัน (เห-มา-ยัน) เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางใต้มากที่สุดและตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด ช่วงเวลากลางวันสั้นที่สุดและกลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี ประเทศทางซีกโลกเหนือเริ่มย่างเข้าฤดูหนาว ส่วนซีกโลกใต้ย่างเข้าสู่ฤดูร้อน และช่วงกลางวันยาวที่สุดในรอบปี
ปรากฏการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับ วันศารทวิษุวัต
ปรากฎการณ์หลักๆ ในวันศารทวิษุวัตคือ
- ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก และตกทางทิศตะวันตกพอดี
- ช่วงเวลากลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน
- ถือเป็นวันเปลี่ยนฤดูกาลเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วงของประเทศทางซีกโลกเหนือ และเปลี่ยนเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิของประเทศในซีกโลกใต้
โดยคำว่า “วิษุวัต” แปลว่า “จุดราตรีเสมอภาค” หมายถึง ช่วงที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรพอดี ซึ่งจะเกิดขึ้นปีละ 2 ครั้ง เท่ากับเวลาที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ นั่นคือ
- ช่วงเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิ เรียกว่า วันวสันตวิษุวัต (Vernal Equinox)
- ช่วงเริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วง เรียกว่า วันศารทวิษุวัต (Autumnal Equinox)
ตามหลักโหราศาสตร์วันศารทวิษุวัตจะเกิดขึ้นช่วงฤดูใบไม้ร่วง เป็นช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่กลุ่มดาวตราชั่ง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความสมดุลและความเท่าเทียมกัน
การเกิดฤดูกาลต่างๆ เป็นเพราะแกนของโลกเอียงทำให้เกิดฤดูกาล เนื่องจากโลกหมุนรอบตัวเองไปรอบๆ ดวงอาทิตย์ แต่มุมเอียงของแกนโลกนั้นไม่คงที่และจะเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน ทำให้ขั้วโลกเหนือหันเข้าหาดวงอาทิตย์ในเดือนมิถุนายน ซีกโลกเหนือจึงเกิดเป็นฤดูร้อน เพราะแสงแดดส่องตกกระทบผิวโลกตรงๆ ทำให้ผิวโลกบริเวณนั้นร้อนมาก ส่วนเดือนธันวาคมขั้วโลกเหนือจะหันออกจากดวงอาทิตย์จึงเกิดเป็นฤดูหนาว เพราะแสงแดดส่งมาเฉียงๆ ความร้อนจะแผ่กระจายเป็นวงกว้าง ทำให้อุณหภูมิลดลงและหนาวเย็นขึ้น
ความเชื่อตามหลักโหราศาสตร์ในวันศารทวิษุวัต
- ตามความเชื่อของศาสนาพุทธ ในวันศารทวิษุวัตเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน เชื่อกันว่าเป็นช่วงที่แนวกั้นระหว่างโลกมนุษย์และสวรรค์บางที่สุด จึงเป็นช่วงที่พระพุทธเจ้าจะช่วยวิญญาณเร่ร่อนก้าวข้ามผ่านจากโลกหลุดพ้นสู่นิพพานนั่นเอง
- เป็นช่วงที่ครอบครัวในประเทศญี่ปุ่น เดินทางไปเคารพหลุมศพของบรรพบุรุษ ทำความสะอาด และวางดอกไม้เพื่อไหว้และระลึกถึงผู้ล่วงลับ ช่วยให้บรรพบุรุษก้าวข้ามไปสู่นิพพานได้
- เป็นเวลาเหมาะที่จะตั้งครรภ์ เนื่องจากฮอร์โมนเพศชายและเพศหญิงอยู่ในระดับสูงที่สุดในฤดูใบไม้ร่วง ถือเป็นช่วงที่เหมาะจะตั้งครรภ์นั่นเอง
สิ่งที่ต้องทำในวันศารทวิษุวัต
- ตื่นอาบน้ำให้จิตใจผ่องใส และสวดมนต์บทบูชาพระอาทิตย์ หรือคาถายูงทอง
- กระดาษจดคำอธิษฐาน ใส่รายละเอียดความต้องการให้ชัดเจนไล่ลงมาทีละข้อ
- ใส่เงินให้เต็มกระเป๋าเงินและพกติดตัวตลอดวันจนถึง 14:50 น. วันรุ่งขึ้น
- จัดโต๊ะหมู่บูชา ประกอบไปด้วย ผงแป้ง น้ำหอม ทอง เพชร กระเป๋า ดอกไม้สีแดง 6 ดอก ธูปหอม 6 ดอก และสวดสวดคาถาบทบูชาพระอาทิตย์ตามเวลา 14:50 น. ของวันที่ 23 กันยายน
- นำน้ำหอมหรือแป้งหอมพรมไปตามกระเป๋าเงิน โต๊ะทำงาน เพื่อดึงดูดโชคลาภ
จริง ๆ แล้ว วันศารทวิษุวัต เป็นวันสำคัญที่ทรงพลังตามธรรมชาติ ถือเป็นวันที่ควรทำจิตใจให้สงบและอธิษฐานจิตให้ชีวิตดี มีโชคลาภ เงินทองไหลมาเทมา มีโอกาสเสริมมงคลให้ชีวิตดีที่สุด
ที่มาข้อมูล: thaigov , trueplookpanya , thaiastro.nectec , workpointtoday