อาการอย่างหนึ่งของคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ถือเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนต้องเจอ นั่นคืออาการปวดหลัง อาการที่ว่าเกิดขึ้นก็เพราะคุณแม่ต้องค่อย ๆ รับน้ำหนักของหน้าท้องที่มากขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดระยะเวลา 9 เดือนของการตั้งครรภ์ เมื่อตั้งครรภ์ใหม่ช่วง 3 – 4 เดือนแรก อาการจะยังไม่มี แต่เมื่อพ้น 5 เดือน ไปแล้วอาการจะเริ่มมา ยิ่งโดยเฉพาะช่วงตั้งครรภ์ท้าย ๆ 7 – 9 เดือน ที่คุณแม่ตั้งครรภ์เริ่มมีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นบางคนขึ้นมากถึง 30 กิโลกรัม โดยบริเวณที่ปวดก็จะเป็นช่วงเชิงกรานไปจนถึงก้นกบ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ คนท้องปวดหลัง
สาเหตุอาการปวดหลังของคนท้อง
ไม่เฉพาะที่ต้องรับน้ำหนักตัวและทารกที่เพิ่มขึ้นในแต่ละช่วงของการตั้งครรภ์เท่านั้นที่เป็นสาเหตุอาการปวดหลังของคุณแม่ตั้งครรภ์ แต่ยังมีสาเหตุอื่นร่วมที่ทำให้แทบผู้หญิงท้องทุกคนต่างก็ต้องเคยผ่านเหตุการณ์ปวดหลังกันแบบสุด ๆ มาแล้ว
1. น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น
เมื่อพ้นช่วงแพ้ท้อง อายุครรภ์มากขึ้น คุณแม่ตั้งครรภ์จะเจริญอาหาร ทานอาหารมากขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการใช้สารอาหารไปเลี้ยงทารกที่อยู่ในครรภ์ด้วย น้ำหนักตัวเพิ่มจากอาหารที่กินมากและจากน้ำหนักทารกที่เพิ่มขึ้นทำให้ท้องมีขนาดใหญ่ขึ้น เวลาเดินหลังก็จะแอ่น ๆ เพื่อสร้างสมดุลจากขนาดหน้าท้องใหญ่ด้านหน้า น้ำหนักจึงไปกดทับบริเวณกระดูกสันหลังทำให้มีอาการปวดหลัง
2. ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง
การตั้งท้องเป็นกระบวนการที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงภายในอย่างมโหฬารครั้งหนึ่งในชีวิตลูกผู้หญิงเลยก็ว่าได้ ด้วยกระบวนการนี้ทำให้ฮอร์โมนไม่ปกติ พวกข้อต่อของกระดูกกับเส้นเอ็นต่าง ๆ ไม่ยืดหยุ่นเหมือนเดิม มีการอ่อนตัว เป็นสาเหตุของอาการปวดหลังได้
3. ภาวะเครียด
หากคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ถ้ามีภาวะอารมณ์ที่แปรปรวน หรือเกิดภาวะความเครียดขึ้นมา เส้นประสาทเส้นเอ็นต่าง ๆ จะเกิดอาการตึง ซึ่งส่งผลต่ออาการปวดหลังได้เช่นกัน
เคล็ดลับแก้อาการ คนท้องปวดหลัง มีดังนี้
- เลือกที่นอนที่ไม่อ่อนนุ่ม นอนแล้วยวบ ควรนอนบนฟูกที่แข็งรับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นของคุณแม่ได้
- ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้เกินเกณฑ์ของการตั้งครรภ์ในแต่ละเดือน กินอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- เปลี่ยนท่านอนเป็นนอนตะแคง ช่วยไม่ให้กล้ามเนื้อช่วงหลังต้องทำงานหนักและรับน้ำหนักตลอดเวลาการนอน หาหมอนมาหนุนตรงช่วงเข่าและขาเป็นการบังคับท่านอน เวลาจะลุกจากเตียงอย่าลืมตัวลุกขึ้นทันทีเหมือนเวลาปกติที่ไม่ท้อง เพราะน้ำหนักจะลงไปที่หลัง ให้ตะแคงเอามือสองข้างพยุงตัว แล้วค่อย ๆ ดันตัวลุกขึ้น กล้ามเนื้อส่วนหลังจะไม่ทำงานหนัก
- เลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูงมาก ๆ เพราะเมื่อใส่รองเท้าส้นสูงตัวเราจะโน้มมาข้างหน้า ทำให้หลังต้องทำงานหนักขึ้นจากเดิมที่ต้องพยายามทรงตัวอยู่แล้ว เลือกใส่รองเท้าสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ไม่เพียงแต่จะช่วยรับน้ำหนัก ยังออกแบบมากันลื่น ช่วยลดอุบัติเหตุได้ ที่สำคัญคือต้องไม่ยืนในท่าเดิมนาน ๆ บางครั้งขาแข็งก้าวขาไม่ออกเลยก็มี
- หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หากจำเป็นต้องยกในท่าที่ถูกต้อง โดยไม่ก้มลงยกของในท่างอหลังเด็ดขาด แต่ให้ย่อเข่าลงเล็กน้อยแล้วค่อยยก แต่เอาเข้าจริงช่วงท้องคุณแม่ขอความช่วยเหลือคนอื่นให้ช่วยยกจะปลอดภัยที่สุด
- นั่งในท่าที่ถูกต้อง ให้นั่งหลังตรง เอนเล็กน้อยได้ พิงพนัก ใช้หมอนอิงหลังช่วยได้ ไม่นั่งหลังงอ ไม่ปล่อยให้ขาลอย หากนั่งแล้วขาไม่ถึงพื้น ให้หาเก้าอี้เล็ก ๆ มาเสริมเพื่อรองเท้า ไม่นั่งท่าเดิมนาน ๆ ควรเปลี่ยนท่าบ่อย ๆ กรณีคุณแม่ทำงานออฟฟิศอย่านั่งนาน ให้ลุกเดินบ่อย ๆ เปลี่ยนท่านั่ง
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ช่วยคุณแม่ตั้งครรภ์เรื่องอาการปวดหลังได้ โดยเลือกวิธีออกกำลังกายที่เหมาะ เช่น เล่นโยคะเบา ๆ เดินช้า ๆ หรือว่ายน้ำก็เป็นกิจกรรมที่คุณหมอมักแนะนำคุณแม่ตั้งครรภ์ หรืออาจเลือกเป็นการทำท่ากายบริหารเพื่อยืดเหยียด โดยเลือกท่าที่เหมาะกับการตั้งครรภ์ ไม่ควรเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายแบบหักโหม อย่าลืมว่าเรากำลังตั้งครรภ์อยู่ หลังคลอดเราค่อยมาออกกำลังกายแบบจริงจังหักโหมกันใหม่ได้
- ใช้เข็มขัดหรือกางเกงพยุงครรภ์กางเกงพยุงครรภ์ที่ทำจากผ้าเนื้อดีจะช่วยรองรับน้ำหนักของครรภ์ที่มากขึ้นได้ดี ทำให้หลังไม่ต้องรับน้ำหนักมากเกินไป ช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้
- หากปวดหลังมากให้ใช้การประคบร้อนประคบเย็นช่วย โดยให้ประคบเย็นเป็นหลักทำบ่อยได้เท่าที่ต้องการในแต่ละวัน และทุก ๆ 2 – 3 วัน ให้ประคบร้อนด้วยถุงน้ำร้อน 1 ครั้ง อาบน้ำอุ่น ๆ ส่วนพวกยานวดหรือครีมนวดหลายตัวไม่เหมาะกับคุณแม่ตั้งครรภ์ อย่างไรควรหลีกเลี่ยงหรือใช้ตามคำสั่งของแพทย์เท่านั้น
อาการปวดหลังเป็นอาการปกติของคุณแม่ตั้งครรภ์ เมื่อคลอดแล้วใช้ชีวิตไปปกติอาการปวดหลังก็จะค่อย ๆ หายไปเอง อย่างไรก็ตามหากอาการปวดหลังรุนแรงใช้วิธีอะไรก็ไม่ช่วยบรรเทาให้ดีขึ้น อาการรบกวนการใช้ชีวิตทำให้ไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติได้ หรือมีอาการปวดหลังร่วมกับอาการผิดปกติอื่น เช่น ปวดท้องเกร็งบ่อย ๆ แบบนี้ควรปรึกษาแพทย์ สัญญาณของโรคบางอย่างฟ้องด้วยอาการปวดหลัง เช่น โรคข้ออักเสบ โรคกระดูกพรุน โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ อาการคลอดก่อนกำหนด ซึ่งถึงแม้จะมีโอกาสเกิดได้น้อยแต่ก็ไม่ควรละเลย สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์คนไหนต้องการตัวช่วยในการรองรับน้ำหนักครรภ์สามารถเข้าไปเลือกเข็มขัดหรือกางเกงพยุงครรภ์ได้
ที่มาข้อมูล : samitivejhospitals , babybbb , sanook , sanook , jobsdb , theasianparent
Comments 2