ทุกคนคงจะเคยเห็น มิเตอร์ไฟฟ้า ที่อยู่ตามเสาไฟฟ้าหน้าบ้าน หรือตามบ้านเรือนกันมาบ้าง มิเตอร์ตัวนี้มีชื่อเต็ม ๆ ว่ากิโลวัตต์ฮาวมิเตอร์ (Kilowatt-hour Meter) หรือ วัตต์ฮาวมิเตอร์ (Watt – hour Meter) ที่ทำหน้าที่วัดพลังงานไฟฟ้าที่เราใช้ไปในแต่ละวัน โดยมีหน่วยวัดงานไฟฟ้าเป็นกิโลวัตต์ชั่วโมง (Kilowatt-hour) โดยสามารถคำนวณการใช้งานได้ที่หน้าปัดของเครื่อง ซึ่งค่าไฟที่เราต้องจ่ายในแต่ละเดือนก็มาจากการคำนวณตัวเลขบนมิเตอร์นั่นเอง
ติดตั้ง มิเตอร์ไฟฟ้า อย่างไร?
มิเตอร์ไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ทุกบ้านต้องมี ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าเราสามารถขอใช้บริการติดตั้งมิเตอร์ได้จากการไฟฟ้า ซึ่งทางการไฟฟ้าก็จะคำนวณการใช้ไฟให้เราว่าขนาดของบ้านเราเหมาะสมกับการใช้มิเตอร์ประเภทใด
แต่ในบางครั้งเราอาจต้องซื้อมิเตอร์สำหรับใช้ไฟฟ้ามาติดตั้งเองด้วยสาเหตุบางประการ เช่น เป็นเจ้าของห้องพักที่แบ่งเช่า ต้องติดมิเตอร์ทุกห้อง หรือต้องการแยกส่วนการใช้ไฟออกจากบ้านหลักด้วยลักษณะของการใช้งาน แต่จะเลือกอย่างไรให้เหมาะสมกับการใช้งาน บทความนี้มีมาแนะนำ
มิเตอร์ไฟฟ้ามีกี่ประเภท?
ก่อนที่เราจะไปเลือกมิเตอร์เพื่อมาใช้งาน สิ่งที่ควรรู้เบื้องต้นก็คือ มิเตอร์สำหรับไฟฟ้ามีกี่ประเภท เพื่อที่จะได้เลือกให้เหมาะสม
- มิเตอร์ 1 เฟส (single phase kilowatt-hour meter) เป็นมิเตอร์ที่นิยมใช้ภายในบ้านพัก หรือห้องเช่า เนื่องจากใช้กำลังไฟฟ้าไม่มาก มีการทำงานแบบขดลวดเหนี่ยวนำไฟฟ้า มีจอแสดงผลลักษณะเข็มบนหน้าปัด ซึ่งใช้งานกับสายไฟฟ้าแบบ 2 เส้นมาตรฐาน และระบบไฟกระแสสลับ 220 v ตามมาตรฐานไฟฟ้าประเทศไทย
- มิเตอร์ 3 เฟส (three phase kilowatt-hour meter) เป็นการออกแบบมิเตอร์ด้วยการแบ่งให้เป็นระบบไฟฟ้า 1 เฟสมาใช้งานรวมกัน 3 ชุด จึงกลายเป็น 3 เฟส ส่วนใหญ่จะใช้งานในสถานที่ที่มีการใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก เช่น โรงแรม โรงงาน โรงพยาบาล โรงเรียน เป็นต้น เพราะจะให้กำลังไฟที่มากเพียงพอต่อการใช้งานในสถานที่ขนาดใหญ่ ส่วนตามบ้านเรือนก็สามารถใช้ได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าของบ้านในการใช้งาน
วิธีการเลือกพิจารณา มิเตอร์ไฟฟ้า
ขนาดมิเตอร์ที่เหมาะสมในการใช้งานตามแต่ละที่พักอาศัยนั้น ต้องพิจารณาหลายด้าน เช่น ขนาดของที่พัก จำนวนห้อง จำนวนผู้อยู่อาศัย และจำนวนอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีภายในบ้านในปัจจุบัน และอาจเผื่อไปถึงอนาคตด้วย
ดังนั้นการเลือกมิเตอร์ที่เหมาะสมกับการใช้งานนั้น นอกจากจะช่วยให้กำลังไฟเพียงพอต่อการใช้งานแล้ว ยังควบคุมงบประมาณไม่ให้สิ้นเปลืองเกินความจำเป็นอีกด้วย ซึ่งจะมีหลักในการเลือกเบื้องต้น ดังนี้
- ขนาดของที่พักอาศัย
สิ่งแหล่งที่ต้องคำนึงเลยก็คือขนาดของที่พักอาศัย เพราะที่พักแต่ละประเภทนั้นมีขนาดที่แตกต่างกัน ทำให้รูปแบบการติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าในแต่ละที่นั้นไม่เหมือนกัน เช่น หากเป็นบ้านเดี่ยวขนาดเล็กถึงขนาดกลาง การเลือกติดตั้งมิเตอร์แบบเฟสเดียว ก็เพียงพอต่อการใช้งานแล้ว เพราะจะมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งที่ถูกกว่า และสามารถจ่ายกำลังไฟเพื่อใช้งานภายในบ้านได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการ
แต่ถ้าเป็นที่พักอาศัยแบบอาคารขนาดใหญ่ เช่น สถานที่ที่ห้องมีจำนวนมาก อพาร์ตเมนท์ หรือสถานที่ที่ต้องการระบบการจ่ายไฟที่มีความเสถียร ก็ควรเลือกแบบ 3 เฟส จะช่วยให้จ่ายกำลังไฟในการใช้งานอย่างเพียงพอ ป้องกันไฟตก และยังช่วยประหยัดค่าไฟในระยะยาวได้ แต่การติดตั้งในเบื้องต้นนั้นจะมีค่าใช้จ่ายมากกว่าระบบเฟสเดียวค่อนข้างมาก
- ปริมาณการใช้ไฟฟ้า
สำหรับผู้ที่ต้องการติดตั้งมิเตอร์แยกในกรณีที่แหล่งที่พักมีหลายห้อง หรือในกรณีที่ต้องการวัดการใช้ไฟฟ้าของตนเอง การคำนวณปริมาณการใช้ไฟฟ้าในแหล่งที่พักอาศัยจะช่วยให้การเลือกมิเตอร์เพื่อนำมาติดตั้งนั้นทำได้อย่างคุ้มค่า
วิธีการคำนวณก็สามารถทำได้ด้วยตนเองด้วยการดูว่าที่พักหรือห้องที่ต้องการติดตั้งมิเตอร์มีเครื่องใช้ไฟฟ้าอะไรบ้าง และนำกำลังไฟที่อยู่บนฉลากของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นแล้วนำมาหารด้วย 220 ซึ่งเป็นค่าโวลต์ของระบบไฟฟ้าในประเทศไทย จากนั้นก็นำผลรวมทั้งหมดนำมาคูณด้วย 1.25 ก็จะได้จำนวนแอมแปร์ของกระแสไฟที่ใช้งาน
ยกตัวอย่างให้เข้าใจง่าย ๆ เช่น พัดลมตั้งพื้นให้กำลังไฟ 75 วัตต์ คิดเป็นกระแสไฟฟ้าที่ต้องใช้ คือ 75 ÷ 220 = 0.34 แอมแปร์ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้เราทราบว่าควรติดตั้งมิเตอร์ที่ให้กำลังไฟเท่าใดและกี่เฟสจึงจะเพียงพอต่อการใช้งาน
การ ติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า ที่ถูกต้อง ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างไร
เมื่อเราพอที่จะทราบการใช้กำลังไฟภายในบ้านเบื้องต้นแล้ว ขั้นตอนต่อมาก็คือการเลือกระบบไฟว่าต้องการแบบเฟสเดียวหรือ 3 เฟส ซึ่งจะมีข้อแตกต่างในการพิจารณาดังนี้
- แบบเฟสเดียว มิเตอร์แบบเฟสเดียวนั้นจะมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งที่ถูกกว่า 3 เฟส ซึ่งนิยมติดตั้งใช้งานตามบ้านเรือนโดยทั่วไป โดยมิเตอร์นั้นก็มีกำลังการจ่ายไฟที่แตกต่างกัน เช่น 5 แอมป์ 10 แอมป์ 15 แอมป์ 30 แอมป์ เป็นต้น ซึ่งจะมีราคาที่แตกต่างกันด้วย การเลือกมิเตอร์ที่พอดีกับการใช้ไฟฟ้า จะช่วยให้ประหยัดค่าติดตั้งให้ถูกลงได้อีก
- แบบ 3 เฟส มิเตอร์แบบ 3 เฟสนั้น มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูงกว่าแบบเฟสเดียวเป็นอย่างมาก แต่จะมีความคุ้มค่าในระยะยาว เพราะมิเตอร์แบบ 3 เฟสนั้น จะมีการกระจายกำลังไฟไปยังจุดต่าง ๆ จึงเหมาะสำหรับคอนโด หอพัก หรือสถานที่ที่มีจำนวนห้องเป็นจำนวนมาก เนื่องจากจะทำให้ไฟในแต่ละเฟสนั้นไม่ถูกใช้งานมาก เป็นการเฉลี่ยกำลังไฟ และส่งผลให้มีอัตราการคิดค่าไฟโดยเฉลี่ยที่ลดลง มีความคุ้มค่าในระยะยาวสำหรับที่พักอาศัยที่ใช้ไฟฟ้าในแต่ละวันมาก
กล่าวโดยสรุป การติดตั้ง มิเตอร์ไฟฟ้า เพื่อใช้งานภายในบ้านหรือที่พักอาศัยนั้นแตกต่างกันไปตามการใช้งาน หากเราไม่มีความรู้เพียงพอ ควรปรึกษาช่างผู้ชำนาญ ทั้งในเรื่องของการคำนวณขนาดของไฟฟ้าที่เหมาะสม และการติดตั้งมิเตอร์ด้วยช่างผู้ชำนาญ จะทำให้การใช้งานไม่เกิดปัญหาในภายหลัง หากต้องการเลือกซื้ออุปกรณ์เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า เลือกซื้อแบบออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ของลาซาด้า
ที่มาข้อมูล: ddproperty , kachathailand , changfi , pmswitchboard