หนึ่งในปัญหากลุ้มใจสำหรับการเลือกใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าคือ ปลั๊กไฟ ที่แม้จะขนาดเล็กไซส์จิ๋ว ก็สร้างความปวดหัวไม่น้อย ถ้าเลือกปลั๊กไม่ดี ไร้คุณภาพก็ย่อมทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นเสื่อมสภาพเร็วขึ้น เช่น สมาร์ตโฟนที่แบตเตอรี่เสื่อมไวอย่างเห็นได้ชัด และยังอาจส่งผลกระทบให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร ไฟไหม้บ้านมานักต่อนักแล้ว ด้วยเหตุนี้เองเราจึงพามาทำความรู้จักกับ วิธีเลือกปลั๊กใช้งานที่ถูกต้อง หมดกังวลปัญหาไฟฟ้าลัดวงจรเลยล่ะ
ก่อนซื้อ ปลั๊กไฟ ต้องดูอะไรบ้าง ป้องกันอันตรายก่อนเกิดขึ้น
- มาตรฐาน มอก.
แน่นอนว่าจะเลือกปลั๊กที่มีคุณภาพต้องตรวจเช็กจาก มอก. ก่อนอันดับแรก ซึ่งสัญลักษณ์ มอก.ที่ระบุไว้บนปลั๊กพ่วงในกรณีผ่านมาตรฐาน คือ “มอก.2432-2555” อย่างไรก็ตามก็ยังมีปลั๊กบางรุ่นผลิตก่อน มอก.ดังกล่าวประกาศใช้ ทำให้มีผู้ผลิตบางรายปั๊มตราประทับปลอมภายหลัง ทั้งที่คุณภาพวัสดุนั้นไม่ผ่านเกณฑ์ มอก. คุณสามารถสังเกตจากลักษณะภายนอกว่า มอก.เป็นของจริงหรือไม่ ได้แก่ หัวปลั๊กต้องเป็นแบบ 3 ขาทรงกลม 2 ขาหลักมีฉนวนกันไฟ, วัสดุบอดี้ติดไฟยาก เช่น พลาสติก ABS พลาสติก AVC , มีมาตรฐาน มอก. 11-2531 ระบุบนสายไฟ สำหรับแสดงให้เห็นว่าสายไฟมีมาตรฐานจริง และใช้กำลังไฟไม่เกิน 10 A (แอมแปร์)
- ด้านในสวิตช์
ถึงแม้จะมี มอก.บอกมาแล้ว แต่ด้านในสวิตช์ก็ควรตรวจเช็กเช่นกันว่ามีชิ้นส่วนที่เรียกว่า “ม่านนิรภัย” ออกมาบังหรือไม่ ซึ่งปลั๊กสามตารุ่นก่อนหน้าที่เราเห็นกัน มักเป็นปลั๊กโล้น ๆ ทำให้เด็ก ๆ มักเผลอเอานิ้วจิ้มเข้าไป โดนไฟช็อตง่าย ๆ เสียอย่างนั้น โดยปลั๊กรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพจะมีม่านนิรภัยออกมาบัง เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว และเพื่อป้องกันฝุ่นและละอองน้ำกระเด็นใส่เข้าไปด้านใน จนทำให้สวิตช์เกิดการเสื่อมสภาพอีกด้วย
- เซอร์กิตเบรกเกอร์
หน้าที่ของอุปกรณ์ชิ้นนี้มีไว้เพื่อตัดกระแสไฟฟ้าเกิน ปลั๊กพ่วงราคาถูกจะไม่มีเซอร์กิตเบรกเกอร์ติดมาด้วย ทำให้มีโอกาสเกิดไฟลุกไหม้เต้ารับเสียบได้ง่าย ซึ่งปลั๊กที่ไม่มีคุณภาพจะใช้หลอดฟิวส์ ที่ปัจจุบันโดนแทนที่ด้วยเซอร์กิตเบรกเกอร์แล้ว เนื่องจากเวลากระแสไฟฟ้าเกิน ฟิวส์จะเกิดการลุกไหม้ หลอมละลายลง ทำให้ไม่สามารถใช้ซ้ำได้อีก และไฟที่ไหม้ตรงหลอดฟิวส์อาจลามไปทั้งปลั๊ก ถ้าวัสดุผลิตมาคุณภาพไม่ดีพอ ในขณะที่เบรกเกอร์จะยังใช้งานต่อไปได้ แม้เคยเกิดเหตุตัดกระแสไฟฟ้าไปแล้ว
- ปุ่มกดสวิตช์
ปลั๊กไฟที่ไร้คุณภาพมีจุดสังเกตเดียวกัน คือ ไม่มีปุ่มกดสวิตช์ แต่ผู้ใช้งานบางคนกลับชอบเสียอย่างนั้น เพราะเสียบถอดเข้าง่ายดี ไม่ต้องคอยกดปุ่มไป แต่รู้หรือไม่ว่าปุ่มกดสวิตช์ออกแบบมาเพื่อป้องกันไม่ให้กระแสไฟฟ้าทำงานตลอดเวลา ซึ่งหากไม่มีปุ่ม-เปิดปิด เมื่อคุณเสียบปลั๊กเข้ากับไฟบ้าน กระแสไฟฟ้าที่ปล่อยออกมาครั้งเดียวอาจทำให้ช่องเสียบที่ไม่ได้ใช้เสื่อมสภาพเร็ว และปุ่มสวิตช์ยังช่วยป้องกันไม่ให้ไฟกระชากอีกด้วย
แนะนำร้านค้า ปลั๊กไฟ ที่ปลอดภัย มีคุณภาพผ่านมาตรฐาน มอก.
1. ร้านค้า ONESAM
ปลั๊กไฟรุ่น OS-T91 เต้ารับ 4 ช่อง รองรับการชาร์จด้วยสาย USB 8 พอร์ต เต้ารับ 4 ช่องกำลังไฟ 3,000 W ส่วนของช่องชาร์จ USB กำลังไฟอยู่ที่ 4.2 A ความยาวสายไฟมีให้เลือกตั้งแต่ 2 – 5 เมตร วัสดุทำมาจากพลาสติก PC จึงมั่นใจได้ว่าไม่ติดไฟง่าย นอกจากผ่านมาตรฐาน มอก. ยังผ่านการรับรองจาก RoHS อีกด้วย (มาตรฐานการใช้สารที่เป็นอันตรายในอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์)
2. ร้านค้า Amornonline
AMORN CR-6253 ปลั๊กพ่วงสายไฟยาว 3 เมตร รองรับกำลังไฟสูงสุด 2500 W 10 A รางปลั๊กมี 5 ช่อง มาพร้อมกับสวิตช์ 1 ช่อง ปลั๊กพ่วงผ่านมาตรฐาน มอก. ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นใช้ม่านนิรภัย วัสดุป้องกันไฟ และใช้เต้ารับ 3 ขา จึงมั่นใจได้เลยว่าใช้งานแล้วปลอดภัยแน่นอน
3. ร้านค้า Topvalue.com
Panasonic ปลั๊กพ่วงสายไฟมีให้เลือกความยาว 2 – 3 เมตร รางปลั๊กมี 3 ช่อง กำลังไฟ 2300 W 10 A ตามมาตรฐาน มอก. มาพร้อมกับพอร์ตเชื่อมต่อ USB 2 ช่อง กำลังไฟ 5 V 2.1 A และตัววัสดุปลั๊กพ่วงยังผ่านมาตรฐาน UL94 ของสหรัฐอเมริกา ที่ช่วยรับรองแล้วว่าเมื่อติดไฟแล้ว พลาสติกจากปลั๊กจะไม่ลุกลามไปยังส่วนอื่น แถมขั้วต่อของสายไฟยังมีการป้องกันความเสียหายของทองแดงในกรณีที่บิดตัวบ่อยอีกด้วย
4. ร้านค้า MIG Online Store
VOX NOVA NV-T272 U ปลั๊กพ่วงดีไซน์ไม่ซ้ำใคร มาในรูปทรงแนวตั้งคล้ายคอนโด สายไฟปลั๊กพ่วงมีความยาว 3 เมตร ประกอบด้วย 6 เต้าเสียบ รองรับกำลังไฟสูงสุด 2300 W 10 A + 1 เต้าเสียบสำหรับพอร์ต USB รองรับกำลังไฟไม่เกิน 2.1 A และปลั๊กพ่วงยังผ่านมาตรฐานมากมาย นอกเหนือจาก มอก. เช่น มาตรฐาน VDE ที่ผ่านการทดสอบคุณภาพมาตรฐานจากประเทศเยอรมนี ถ้าใครสนใจปลั๊กพ่วงดีไซน์แปลกใหม่ ผ่านมาตรฐานรองรับจำนวนมาก แบรนด์ VOX NOVA ก็น่าใช้
หลังซื้อมาใช้งานแล้วต้องระวังปัญหาอะไรอีกบ้าง?
- ถอดปลั๊กหลังการใช้งาน หลายคนเข้าใจผิดว่ากระแสไฟฟ้าจะหยุดไปแล้ว แม้ว่าจะปิดสวิตช์ที่เต้าเสียบ ซึ่งความเป็นจริงแล้วปลั๊กพ่วงยังคงทำงานอยู่ตลอดเวลา วิธีการที่ดีที่สุด คือ ต้องถอดปลั๊กทันทีหลังใช้งานเสร็จ เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าเข้าและอาจเกิดไฟฟ้าลัดวงจร และยังช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือนอีกด้วย
- ไม่ใช้งานเกินจำนวนวัตต์ที่กำหนด ปลั๊กพ่วงจะมีข้อกำหนดในการใช้งานบางประการ คือ การกำหนดปริมาณไฟฟ้าที่รองรับได้ ซึ่งแต่ละแบรนด์ก็ระบุแตกต่างกันออกไป เช่น 2300 W หรือ 2000 W เป็นต้น ยิ่งถ้าเสียบด้วยอุปกรณ์อื่นที่กินไฟมาก ได้แก่ หม้อหุงข้าวโทรทัศน์หรืออุปกรณ์อื่นจนเต็มทุกเต้าเสียบ ทิ้งไว้เป็นเวลานาน มีโอกาสที่เซอร์กิตเบรกเกอร์จะตัดไฟเองโดยอัตโนมัติ เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร
เห็นได้ว่าถ้าเลือกใช้งานปลั๊กพ่วงที่มีมาตรฐาน มอก. และมาตรฐานจากประเทศอื่นรองรับ ย่อมได้ปลั๊กพ่วงคุณภาพดี ไม่เกิดปัญหาระหว่างการใช้งาน ซึ่งถ้าไม่รู้ว่าปลั๊กที่จะเลือกซื้อดีจริงหรือไม่ มีอีกวิธีที่ช่วยสังเกตได้ เพียงแค่เขย่า โดยของแท้เมื่อเขย่าแล้ว จะรู้สึกหนัก ไม่มีเสียงก๊องแก๊ง ในขณะที่ของไม่ได้มาตรฐานเมื่อเขย่าแล้วจะรู้สึกกลวงไปหมดและน้ำหนักเบา
ที่มาข้อมูล: 168watt , trueid , thepuffinhouse