ช่วงเวลาตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นและมหัศจรรย์สำหรับคนเป็นพ่อแม่ เพราะเราจะเห็นพัฒนาการของลูกน้อยในทุก ๆ เดือนจนกว่าจะคลอด ซึ่งในแต่ละเดือน พัฒนาการทารกในครรภ์ จะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด ความสุขใจของพ่อแม่ก็คือการเฝ้ามองเขาเติบโตและรอคอยที่จะพบหน้ากันในวันที่เขาพร้อมจะลืมตาดูโลก เราลองมาดูกันดีกว่าว่าพัฒนาการของทารกในแต่ละเดือนนั้นเป็นอย่างไรบ้าง
พัฒนาการทารกในครรภ์ ไตรมาสแรก
- ช่วงเดือนแรกหลังจากปฏิสนธิ ไข่ที่ผสมกับสเปิร์มแล้วจะเริ่มแบ่งเซลล์และพัฒนาเป็นตัวอ่อนใน 2 – 4 สัปดาห์แรก แล้วจะค่อย ๆ เคลื่อนตัวมาฝั่งบริเวณผนังมดลูก โดยตัวอ่อนจะมีเซลล์ประมาณ 100 เซลล์
- เดือนที่ 2 ตัวอ่อนมีขนาดยาวประมาณ 4 เซนติเมตร ระบบประสาทและสมองเริ่มพัฒนาขึ้น เริ่มเห็นศีรษะขนาดใหญ่ชัดเจนกว่าอวัยวะอื่น ๆ ตาและหูเริ่มพัฒนา นอกจากนั้นยังเห็นสายสะดือเล็ก ๆ และจังหวะการเต้นของหัวใจ บริเวณลำตัวเริ่มเห็นแขนและขาได้ชัดเจนมากขึ้น
- เดือนที่ 3 อวัยวะบนใบหน้าครบสมบูรณ์ มีปาก จมูก หู และดวงตา สมองและกล้ามเนื้อเริ่มทำงานประสานกัน แขนขาเริ่มขยับไปมาได้ ระบบย่อยอาหารเริ่มพัฒนา เริ่มเห็นนิ้วมือนิ้วเท้า เด็กในท้องสามารถดูดนิ้วและกลืนน้ำคล้ำได้แล้ว และอาจเริ่มเห็นพัฒนาการของอวัยวะเพศ
พัฒนาการของเด็กในครรภ์ ไตรมาสที่สอง
- เดือนที่ 4 กระดูกและกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น สามารถเคลื่อนไหวได้มากขึ้น คุณแม่จะเริ่มรู้สึกได้ว่าลูกดิ้น เริ่มได้ยินเสียงจังหวะการเต้นของหัวใจชัดเจนเมื่ออัลตร้าซาวด์ อีกทั้งยังระบุเพศของ เด็กในท้อง ได้แล้ว เพราะอวัยวะเพศของทารกเจริญเติบโตเต็มที่ ระบบขับถ่ายพัฒนาจนทารกปัสสาวะในถุงน้ำคล้ำ
- เดือนที่ 5 ช่วงนี้ทารกเริ่มมีผมและเส้นขน บริเวณผิวหนังมีไขทารก (Vernix Caseosa) หุ้มเพื่อป้องกันผิวเกิดรอยถลอก ระบบย่อยอาหารพัฒนาได้เต็มที่ เริ่มมองเห็นลายนิ้วมือและนิ้วเท้า หูและระบบประสาทก็พัฒนาขึ้น เด็กในท้องสามารถรับรู้เสียงจากภายนอกได้ ขนาดลำตัวประมาณ 20 – 25 เซนติเมตร และมีน้ำหนักเฉลี่ย 400 กรัม
- เดือนที่ 6 ในช่วงนี้ พัฒนาการทารกในครรภ์ จะเน้นที่อวัยวะภายใน สังเกตจากขนาดท้องของคุณแม่จะไม่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ผิวของทารกเหี่ยวย่นโปร่งแสงมองเห็นเม็ดเลือดชัดเจน ปอด ระบบภูมิคุ้ม และระบบย่อยอาหารพัฒนาขึ้นอย่างเต็มที่ เด็กทารกเริ่มตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก จดจำเสียงของพ่อแม่ได้ ทารกเริ่มพลิกตัวไปมาแรงขึ้น
พัฒนาการทารกในครรภ์ ไตรมาสที่สาม
- เดือนที่ 7 ระบบประสาทส่วนกลางทำงานเต็มที่สามารถควบคุมจังหวะการหายใจได้ ตุ่มรับรสเริ่มพัฒนา สามารถลืมตาได้ น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เริ่มมีการสะสมไขมันใต้ผิวหนังเพื่อสร้างความอบอุ่นในร่างกาย ทารกมีความยาว 35 เซนติเมตร และหนักประมาณ 1,000 – 1,200 กรัม อวัยวะภายในสำคัญ ๆ พัฒนาขึ้นเติมที่หากคลอดก่อนกำหนดในช่วงนี้ก็สามารถมีชีวิตรอดได้ แต่ต้องอยู่ในตู้อบตามดุลพินิจของแพทย์
- เดือนที่ 8 ในช่วงนี้ลักษณะทางกายภาพของทารกเหมือนกับเด็กแรกคลอด ร่างกายแข็งแรง รูม่านตาเริ่มตอบสนองต่อแสงจากภายนอก และยังสามารถลืมตามองภายในมดลูกได้ ทารกเริ่มมีการขยับตัวและพลิกตัว ทั้งยังสามารถแยกแยะเสียงสูงต่ำหรือจังหวะต่าง ๆ ได้ ขนาดลำตัวยาวประมาณ 40 – 45 เซนติเมตร และหนักประมาณ 2,000 – 2,500 กรัม
- เดือนที่ 9 พัฒนาการทารกช่วงนี้เต็มที่ทุกด้าน พร้อมคลอดออกมานอกครรภ์แล้ว เล็บเริ่มยาว นอกจากนั้นยังรับรู้รสชาติของอาหารบางอย่างที่แม่รับประทานได้ ทารกเพศชายอัณฑะจะลงมาอยู่ที่ถุงอัณฑะ ทารกจะกลับตัวอยู่ในตำแหน่งที่พร้อมคลอดคือพลิกหัวมายังอุ้งเชิงกรานติดกับปากมดลูก ถ้าเด็กไม่กลับตัวหรือมีภาวะรกพันจะต้องพิจารณาผ่าคลอด ขนาดตัวความยาวประมาณ 50 เซนติเมตร และหนักประมาณ 2,800 – 3,000 กรัม
วิธีดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์ให้ลูกน้อยแข็งแรงสมบูรณ์
- ฝากครรภ์และมาพบคุณหมอตามนัดในทุก ๆ เดือน เพื่อตรวจเช็กพัฒนาการของทารกและเฝ้าระวังภาวะผิดปกติกับลูกน้อย เช่น ภาวะดาวน์ซินโดรม หรือโรคทางพันธุกรรม นอกจากนั้นยังเป็นการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ และครรภ์เป็นพิษ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารที่เสี่ยงต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ ควรเน้นรับประทานโปรตีนและโฟเลตเป็นสารอาหารสำคัญต่อพัฒนาการทางร่างกายและสมองของ เด็กในท้อง นอกจากนั้นยังต้องรับประทานไอโอดีนและแคลเซียมให้เพียงพอ เพราะไม่เช่นนั้นอาจเกิดภาวะที่ทารกแย่งสารอาหารและแคลเซียมจากแม่ โดยควรได้รับแคลเซียมอย่างน้อยวันละ 1,000 – 1,300 มิลลิกรัม และไอโอดีนอย่างน้อย 250 ไมโครกรัมต่อวัน
- ควบคุมน้ำหนักไม่ปล่อยให้ตามใจปาก ไม่เช่นนั้นแล้วอาจจะทำให้น้ำหนักเกินและอาจจะเกิดปัญหาท้องแตกลาย ที่สำคัญเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือความดันโลหิตสูงจนเสี่ยงครรภ์เป็นพิษ
- ออกกำลังกายเบา ๆ อย่างการเดินเบา ๆ หรือเล่นโยคะที่เหมาะกับคนท้อง เพื่อเป็นการเสริมสร้างมวลกระดูกและกล้ามเนื้อเตรียมรองรับน้ำหนักของทารกตลอด 9 เดือน และยังเป็นการบริหารกล้ามเนื้อของคุณแม่ลดอาการปวดเมื่อยหรือแขนขาชาขณะตั้งครรภ์ได้
- ทำจิตใจให้ผ่องใส ฟังเพลง อ่านหนังสือ หรือทำกิจกรรมผ่อนคลาย เพื่อลดความเครียดระหว่างตั้งครรภ์ที่อาจจะกระทบต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์
ในช่วงเวลาตั้งครรภ์คงไม่มีอะไรสุขใจเท่ากับการเฝ้ามองพัฒนาการทารกในครรภ์ช้า ๆ ก่อตัวเป็นความรักความผูกพันและนับวันรอจะได้พบหน้าและพร้อมจะมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับเขา แต่หากคุณแม่ตั้งครรภ์ไม่สะดวกที่จะไปเลือกข้าวของเครื่องใช้ไว้สำหรับต้อนรับลูกน้อยได้ด้วยตัวเอง Lazada ได้รวบรวมร้านค้าที่มีสินค้าแม่และเด็ก ของเล่น และข้าวของเครื่องใช้สำหรับเด็กแรกเกิดไว้อย่างครบครัน ช้อปได้ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมบริการจัดส่งให้ถึงบ้าน
ที่มาข้อมูล: samitivejhospitals , thonburihospital , pobpad , nakornthon
Comments 1