ในช่วง 10 – 20 ปีที่ผ่านมา วงการโทรทัศน์ได้พัฒนาก้าวหน้าไปอย่างก้าวกระโดด ที่แต่เดิมการรับชมเนื้อหามีอยู่หลัก ๆ เพียง 6 ช่อง ความหลากหลายของคอนเทนต์ค่อนข้างน้อย เรื่องสัญญาณรับภาพและความคมชัดไม่ต้องพูดถึง มาขาด ๆ หาย ๆ แต่เมื่ออินเทอร์เน็ต 4 G และทีวีดิจิทัลเข้ามาถึง ทำให้เกิดทีวีรุ่นใหม่ที่เรียกว่า Android TV และ Smart TV ถึงแม้ว่าทีวีทั้งสองแบบจะมีระบบคล้ายกัน แต่ก็มีความแตกต่างที่ผู้ใช้งานควรทราบอยู่ จะมีอะไรกันบ้างนั้น มาดูกันเลยดีกว่า
Android TV กับ Smart TV ความเหมือนบนความแตกต่าง
แม้ Android TV และ Smart TV สามารถใช้งานบนระบบอินเทอร์เน็ตได้ทั้งคู่ ส่วนลักษณะภายนอกก็คล้ายกับทีวีดิจิทัลทั่วไป กล่าวคือ ขนาดบางเฉียบ ไร้ขอบ จอกว้างอย่างกับโฮมเธียเตอร์ เรื่องความคมชัดก็ระดับ Full HD แต่ทีวีทั้งสองก็มีความแตกต่างกันอยู่ดังนี้
- ทีวีแอนดรอยด์
เหมาะสำหรับผู้ต้องเสพคอนเทนต์หลากหลาย เพราะสามารถเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชัน “Google Play Store” ประกอบกับมีกล่องแถมมาให้ในตัว จึงดาวน์โหลดแอปอื่น ๆ เข้ามาได้นอกเหนือจากแอปพลิเคชันหลัก ส่วนการลงทะเบียนเข้าสู่ระบบครั้งแรก จำเป็นต้องตั้งค่าหลายอย่าง และระบบ Operation System(OS) จะใช้งาน OS ในส่วนของ Android เท่านั้น และ OS มีการอัปเดตอัตโนมัติอยู่ตลอด หมดปัญหาเรื่องตัวแอปล้าสมัยจนทำงานไม่ได้ในอนาคต
นอกจากนี้ทีวีแอนดรอยด์ยังมีคุณสมบัติเชื่อมต่อกับเมาส์และคีย์บอร์ด ทำให้การควบคุมทีวีทำได้ดีกว่าทีวีที่ใช้เพียงรีโมท อีกทั้งยังรองรับการใช้งานภาษาไทย, มีฟีเจอร์ Google Assistant และฟีเจอร์ Chromecast (การสตรีมมิ่งบนหน้าจอของทีวีแอนดรอยด์ผ่านหน้าจอสมาร์ทโฟนและหน้าจอคอมพิวเตอร์)
- Smart TV
มีคอนเทนต์จำกัด ไม่สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันจากภายนอกเหมือนกับทีวีแอนดรอยด์ แต่ก็มีแอปสำหรับความบันเทิงพื้นฐานติดมาให้อยู่แล้วในเครื่อง เช่น Netflix, AIS Play, TrueID, LINE TV เป็นต้น เมื่อใช้งาน Smart TV ครั้งแรก ระบบจะให้ลงทะเบียน ซึ่งง่ายไม่ซับซ้อนเท่ากับทีวีแอนดรอยด์ ในด้านของระบบปฏิบัติการจะใช้ของระบบอะไรก็ได้ ไม่จำกัด OS ส่วนข้อเสียที่ควรรู้คือไม่ใช่ Smart TV ทุกรุ่นที่ใช้กล่องเหมือนกับแอนดรอยด์ทีวีและระบบของสมาร์ททีวีไม่รองรับคีย์บอร์ดภาษาไทย
แนะนำแอปพลิเคชันที่ใช้งานร่วมกับแอนดรอยด์ทีวี
หากตัดสินใจเลือกใช้งานทีวีแอนดรอยด์ เพราะความหลากหลายของคอนเทนต์ คุณคิดถูกแล้ว ซึ่งแอปพลิเคชันที่ใช้งานได้เฉพาะทีวีดังกล่าว มีดังนี้
- Spotify
แอปพลิเคชันชื่อดังสำหรับผู้รักเสียงเพลง ซึ่งแอนดรอยด์ทีวี ก็จัดให้คุณฟังเพลงแบบจุก ๆ ผ่านโทรทัศน์ โดยไม่ต้องเข้า Youtube เสิร์ชหาชื่อเพลงให้เสียเวลา ปัจจุบัน Spotify รวบรวมมาให้มากกว่า 90 ล้านเพลง ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายไม่ว่าจะผู้ชอบฟังเพลงในกระแส เพลงนอกกระแส หรือเพลงเก่าที่หาฟังยาก แถมระบบ UI ใช้งานง่าย และ AI ช่วยแนะนำเพลงที่เราอาจชอบฟัง ได้ค้นพบเพลงใหม่และเพลงอื่น ๆ จากศิลปินที่ชื่นชอบ
- Steamlink
ชาวเกมเมอร์ไม่มีใครไม่รู้จักเว็บไซต์เล่นเกมชื่อดังอย่าง “Steam” ที่ล่าสุดได้เปิดตัว Steamlink สำหรับรองรับการเล่นเกมบนทีวีแอนดรอยด์ ซึ่งหากใครอยากเล่นเกมบนหน้าจอทีวีใหญ่จุใจก็ไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง เพราะความคมชัดของหน้าจอนั้นอย่างไรก็มากกว่าคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว และเกมจำนวนมากบน Steamlink ใช้งานกราฟิกคุณภาพสูง จึงเข้ากันได้ดีกับทีวีแอนดรอยด์ ยิ่งไปกว่านั้นระบบของทีวียังรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกอย่างคีย์บอร์ด + เมาส์ ช่วยให้เล่นเกมได้อย่างไร้กังวล
- FX File Explorer
หากกำลังมองหาตัวช่วยจัดการไฟล์รูปภาพและเอกสาร ต้องไม่พลาดกับ FX File Explorer ซึ่งต้องบอกก่อนเลยว่า จำนวนไฟล์ของทีวีแอนดรอยด์มีมากมายมหาศาล ส่วนหนึ่งเพราะเป็นทีวีอเนกประสงค์ ใช้งานได้หลายอย่าง ไม่เป็นเรื่องแปลกที่มีไฟล์ดาวน์โหลดจำนวนมาก ซึ่งแอปพลิเคชันนี้ช่วยตอบโจทย์ให้ผู้ใช้งานหาไฟล์อย่างรวดเร็ว และคุณสามารถออกแบบเองได้ว่าอยากจัดหมวดหมู่ของเอกสารอะไรเข้าด้วยกัน
- Google Drive
จะทำอย่างไรหากเซฟรูปภาพและวิดีโอหลังจากท่องเที่ยวไว้บนระบบ Cloud แล้วอยากรับชมภาพน่าประทับใจที่ขนาดใหญ่กว่าหน้าจอสมาร์ทโฟน เพื่อให้ครอบครัวและเพื่อนฝูงชมย้อนหลัง? ซึ่งการรับชมรูปภาพผ่านทางทีวีแอนดรอยด์ก็อาจเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า เพราะสามารถใช้งานแอปพลิเคชันอย่าง “Google Drive” ที่เปิดได้ทั้งรูปภาพและวิดีโอ ที่สำคัญยังเซฟเก็บความทรงจำดี ๆ ไว้ได้นาน ไม่มีหายเหมือนกับ Thumbdrive
แนะนำ Android TV ที่น่าสนใจ รองรับการใช้งานได้หลากหลาย
- TCL รุ่น 40S6500
แอนดรอยด์ทีวีขนาด 40 นิ้ว หน้าจอรูปแบบ LED Full HD คุณภาพเสียงระบบ DOLBY AUDIO ซึ่งเป็นระดับเสียงสำหรับการฉายในโรงภาพยนตร์ ช่วยให้ได้ยินชัดเจนทั่วทิศทาง ตัว CPU เป็นรูปแบบ 4 คอร์ ความจุสูงสุด 8 GB พอร์ตเชื่อมต่อรองรับได้หลายรูปแบบ ได้แก่ Wi-Fi, Bluetooth, HDMI และ USB นอกจากนี้ยังได้ออกแบบมาให้ AI สามารถค้นหาคอนเทนต์ที่ผู้ใช้งานต้องการได้อย่างรวดเร็ว ช่วยอำนวยความสะดวกสบายดีเยี่ยม
- Aconatic 32HS600AN
แอนดรอยด์ทีวีขนาด 32 นิ้ว หน้าจอรูปแบบ LED ความคมชัดระดับ HD 1366*768 อัตราส่วน Contrast Ratio (ระดับการแสดงความเข้มของสี) อยู่ที่ 3500 : 1 ถือว่าอยู่ในระดับสูง ใช้งาน OS Android เวอร์ชัน 11 แรมขนาด 6 GB ตัวเครื่องจุไฟล์ได้ถึง 16 GB ความถี่ CPU อยู่ที่ 1.45GHZ การ์ดจอเป็นรูปแบบ Mali G31 MP2/Dual-Core และรองรับการเชื่อมต่อด้วยระบบ Wi-Fi, Bluetooth, HDMI 2.0 , USB 2.0 และสาย LAN
ทีวีแอนดรอยด์มีประโยชน์ในด้านที่สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเสริมอย่างไร้ขีดจำกัดจาก Google Play Store ทำให้ประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเลือกเล่นเกม จัดตารางการออกกำลังกาย จัดระเบียบแอปพลิเคชันต่าง ๆ ให้หาได้ง่าย ฯลฯ หากกำลังมองหาทีวีที่มีคุณสมบัติที่เป็นมากกว่าแค่การรับชมภาพยนตร์ ดูข่าว หรือรับชมซีรีส์ Android TV ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจอย่างยิ่ง
ที่มาข้อมูล: specphone , droidsans , mekan0 , dohome