เชื่อว่าคนหนุ่มสาวที่พักอาศัยอยู่ใกล้วัดคงอดสงสัยไม่ได้ว่าทำไมผู้เฒ่าผู้แก่ในละแวกบ้านถึงชอบหิ้วปิ่นโตถือดอกไม้พวงมาลัยเพื่อไปทำบุญฟังธรรมที่วัดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ให้ลำบาก ทั้ง ๆ ที่ในความจริงผู้สูงวัยหลายคนก็ทำบุญใส่บาตรกันประจำทุกเช้าอยู่แล้ว ซึ่งเหตุผลก็เนื่องจากวันนั้นเป็นวันธรรมสวนะทางจันทรคติตามหลักพุทธศาสนาหรือที่หลายคนเรียกกันติดปากว่า วันพระ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วใน 1 เดือน จะมีวันพระประมาณ 4 วัน ได้แก่ วันขึ้น 8 ค่ำ วันขึ้น 15 ค่ำ วันแรม 8 ค่ำ และวันแรม 15 ค่ำ หรือวันแรม 14 ค่ำ ในกรณีที่เป็นเดือนขาดทางจันทรคติที่มี 28 วัน
ไขข้อข้องใจ วันพระ มีที่มาอย่างไร
แน่นอนว่าต้องมีคนไม่น้อยที่สงสัยว่าวันพระนั้นเริ่มต้นมาตั้งแต่เมื่อไหร่และมีประวัติความเป็นมาอย่างไร คงต้องย้อนกลับไปยังสมัยพุทธกาล เริ่มต้นจากการที่พระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์ครองเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ พุทธศาสนิกชนคนสำคัญเห็นว่านักบวชนอกพระพุทธศาสนาหรือพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์มีธรรมเนียมการประชุมสนทนาธรรมกันทุก 8 ค่ำ และ 15 ค่ำ ในขณะที่ศาสนาพุทธไม่มีธรรมเนียมปฏิบัติแบบนี้ พระองค์จึงได้นำเรื่องนี้มากราบทูลต่อพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์จึงได้ประกาศอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์สามารถประชุมสนทนาเรื่องธรรมมะและแสดงธรรมเทศนาในวัน 8 ค่ำ และ 15 ค่ำ เช่นเดียวกัน ตั้งแต่นั้นมาพระพุทธองค์จึงถือให้วันนี้เป็นวันธรรมสวนะ มาจากคำว่า “สวนะ” ที่แปลว่าการฟัง เมื่อรวมกันคำว่า “ธรรมสวนะ” จึงแปลว่าการฟังธรรมหรือวันประชุมฟังธรรม นอกจากนั้นยังมีการใช้คำอื่นอีกคือ วันอุโบสถ ตามพระพุทธศาสนาแปลว่า วันจำศีลของอุบาสกอุบาสิกาผู้ต้องการบุญกุศล
แนะนำกิจกรรมที่ควรทำในวันพระ ถ้าไปทำบุญที่วัดไม่ได้
ประเทศไทยมีหลักฐานบันทึกที่กล่าวถึงวันธรรมสวนะตั้งแต่สมัยสุโขทัย ซึ่งในอดีตประเทศไทยและประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท อย่างพม่า ลาว และกัมพูชา จะถือว่า วันพระ เป็นวันหยุด เนื่องจากในวันนี้พุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่จะไปรวมตัวกันอยู่ที่วัดเพื่อถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ถวายดอกไม้ธูปเทียน ฟังธรรมเทศนา และถือศีล อย่างไรก็ตามปัจจุบันเพราะคนส่วนใหญ่ต้องทำงานจึงได้มีการยกเลิกธรรมเนียมนี้แล้ว ด้วยเหตุนี้จึงทำให้หลายคนไม่สามารถไปทำบุญได้อย่างที่ต้องการ แต่ถึงอย่างนั้นพุทธศาสนิกชนก็ยังสามารถหากิจกรรมดี ๆ อย่างอื่นได้ ดังนี้
- ทำทาน
ถ้าทำบุญตักบาตรที่วัดไม่ได้เพราะตรงกับวันทำงาน อาจเปลี่ยนเป็นการทำทานแทนก็ได้บุญเช่นกัน เพราะอย่างที่คนรุ่นพ่อรุ่นแม่บอกเสมอว่าทำบุญแล้วก็ต้องทำทาน เมื่อทำบุญไม่ได้การเปลี่ยนมาทำทานก็ไม่ใช่เรื่องผิด โดยอาจเลือกเป็นการปล่อยนกปล่อยปลา ให้อาหารสัตว์ที่ไม่มีเจ้าของ หรือทำบุญบริจาคสิ่งของและเงินให้กับมูลนิธิที่ทำประโยชน์ให้กับสังคม
- เจริญภาวนา รักษาศีล
หากเป็นสายบุญตัวจริงเมื่อทำบุญทำทานแล้วอีกสิ่งที่ขาดไม่คือ การเจริญภาวนา รักษาศีล เพื่อให้จิตใจบริสุทธิ์ ซึ่งแนะนำว่าให้ตั้งเป้าหมายที่การรักษาศีล 5 ก็เพียงพอแล้ว เพราะไม่กระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันมากเกินไป ส่วนนั่งสมาธิหรือเดินจงกลมเพื่อเจริญภาวนาสติ เมื่อไม่สามารถเข้าวัดได้เพียงแค่เปลี่ยนเป็นทำที่บ้านแทน รับรองว่าได้บุญไม่น้อยไปกว่ากัน
- ช่วยเหลือสังคม
นักเรียนนักศึกษาหรือคนที่ยังไม่มีรายได้เป็นของตัวเอง แต่อยากทำบุญแนะนำว่าให้เปลี่ยนจากการทำบุญด้วยเงินหรือสิ่งของเป็นการทำบุญด้วยแรงแทนก็ได้บุญใหญ่ไม่แพ้กัน อย่างการเป็นอาสาสมัครทำประโยชน์เพื่อสังคม การทำความสะอาดสถานที่สาธารณะ หรือการแบ่งปันความรู้ให้กับผู้ด้อยโอกาส
ปักหมุดวันพระปี 2566
สำหรับสายบุญที่อยากเตรียมซื้อข้าวของจำเป็นในการทำบุญ วันพระ อย่างเทียนธูปกระถางธูป หรือแจกันดอกไม้ไว้ล่วงหน้า แนะนำให้เข้าไปเลือกซื้อได้ที่ลาซาด้า เพราะมีสินค้าให้เลือกมากมายหลายแบบ แถมยังสามารถเปรียบเทียบราคาจากหลาย ๆ ร้านค้าได้ด้วย วันนี้เราจะพาไปดูว่าในปี 2566 วันพระ ตรงกับวันไหนบ้าง
- เดือนมกราคม ตรงกับวันศุกร์ที่ 6, วันเสาร์ที่ 14, วันเสาร์ที่ 21 และวันอาทิตย์ที่ 29
- เดือนกุมภาพันธ์ ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 5, วันจันทร์ที่ 13, วันอาทิตย์ที่ 19 และวันจันทร์ที่ 27
- เดือนมีนาคม ตรงกับวันจันทร์ที่ 6, วันอังคารที่ 14, วันอังคารที่ 21 และวันพุธที่ 29
- เดือนเมษายน ตรงกับวันพุธที่ 5, วันพฤหัสบดีที่ 13, วันพุธที่ 19 และวันพฤหัสบดีที่ 27
- เดือนพฤษภาคม ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 4, วันศุกร์ที่ 12, วันศุกร์ที่ 19 และวันเสาร์ที่ 27
- เดือนมิถุนายน ตรงกับวันเสาร์ที่ 3, วันอาทิตย์ที่ 11, วันเสาร์ที่ 17 และวันอาทิตย์ที่ 25
- เดือนกรกฎาคม ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 2, วันจันทร์ที่ 10, วันจันทร์ที่ 17 และวันอังคารที่ 25
- เดือนสิงหาคม ตรงกับวันอังคารที่ 1, วันพุธที่ 2, วันพุธที่ 9, วันพุธที่ 16, วันพฤหัสบดีที่ 24 และวันพฤหัสบดีที่ 31
- เดือนกันยายน ตรงกับวันศุกร์ที่ 8, วันพฤหัสบดีที่ 14, วันศุกร์ที่ 22 และวันศุกร์ที่ 29
- เดือนตุลาคม ตรงกับวันเสาร์ที่ 7, วันเสาร์ที่ 14, วันอาทิตย์ที่ 22 และวันอาทิตย์ที่ 29
- เดือนพฤศจิกายน ตรงกับวันจันทร์ที่ 6, วันอาทิตย์ที่ 12, วันจันทร์ที่ 20 และวันจันทร์ที่ 27
- เดือนธันวาคม ตรงกับวันอังคารที่ 5, วันอังคารที่ 12, วันพุธที่ 20 และวันพุธที่ 27
เป็นอย่างไรบ้างสำหรับข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับวันพระที่เรานำมาฝาก ซึ่งจะเห็นว่าในความเป็นจริงแล้วกิจกรรมวันพระนั้นไม่ได้จำกัดอยู่แค่การตักบาตรฟังธรรมเท่านั้น วันพระหน้าถ้าไม่สะดวกไปทำบุญที่วัดอาจลองหาวิธีทำกุศลแบบอื่น เพราะได้บุญใหญ่เช่นเดียวกันเมื่อทำด้วยใจบริสุทธิ์
ที่มาข้อมูล: thaiticketmajor , dhammathai , sanook , dhammathai , sanook
Comments 1