งานเชื่อม ถือเป็นงานที่อาศัยทักษะและความสามารถเฉพาะ ซึ่งคนที่สามารถเชื่อมงานได้จะต้องผ่านการฝึกฝนและเข้าใจอุปกรณ์เครื่องเชื่อมและวัสดุอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นงานที่ค่อนข้างอันตราย เนื่องจากมีไฟฟ้าเข้ามาเกี่ยวข้อง หากไม่มีความชำนาญหรือปราศจากมืออาชีพคอยควบคุมและดูแลแล้วอาจได้รับอันตรายร้ายแรงได้ โดยในวันนี้จะพาไปรู้จักกับเครื่องเชื่อมรูปแบบต่าง ๆ ทั้ง เครื่องเชื่อมเลเซอร์ เครื่องเชื่อมไฟฟ้า และเครื่องเชื่อมแบบอื่น ๆ เพื่อที่จะได้หาซื้อและนำมาใช้งานได้อย่างถูกต้อง โดยเฉพาะมือใหม่ที่ต้องการฝึกฝนและใช้เชื่อมงานเล็ก ๆ น้อย ๆ ภายในบ้านด้วยตนเอง โดยไม่ง้อช่าง
แนะนำ เครื่องเชื่อมเลเซอร์ และ เครื่องเชื่อมไฟฟ้า แบบอื่น ๆ
- เครื่องเชื่อมเลเซอร์
เครื่องเชื่อมเลเซอร์ เป็นเครื่องมือที่ทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อ ประสานชิ้นงานโลหะที่มีความละเอียดสูง สามารถเชื่อมในพื้นที่แคบโดยที่เครื่องเชื่อมประเภทอื่น ไม่สามารถเข้าถึงได้ ตัวชิ้นงานที่เกิดจากการเชื่อมยังมีความร้อนสะสมในปริมาณน้อย ทำให้ไม่กระทบต่อการเปลี่ยนโครงสร้างและรูปทรงของวัสดุที่กำลังเชื่อม การเชื่อมด้วยเลเซอร์จึงเป็นการใช้พลังงานของเลเซอร์เป็นแหล่งความร้อน โดยมีลวดเชื่อมเป็นตัวประสานที่ผ่านการคัดเลือกมาเป็นอย่างดีและเหมาะสมกับงานที่ใช้
ข้อดี
- มีความละเอียดและแม่นยำสูง
- สามารถเชื่อมรูปทรงเรขาคณิตที่ซับซ้อนได้
- แหล่งพลังงานความร้อนมีความคงที่
- โครงสร้างของชิ้นงานไม่ได้รับผลกระทบ
ข้อเสีย
- ราคาเครื่องค่อนข้างสูง
- ลวดที่ใช้มีราคาค่อนข้างแพงและหายาก
- ตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์ หรือเครื่องเชื่อมไฟฟ้า (ARC/MMA)
เป็นเครื่องเชื่อมที่อาศัยธูปเชื่อมเป็นหลัก สามารถเชื่อมได้ทั้งงานเหล็ก สแตนเลส บางรุ่นสามารถที่จะเชื่อมอลูมิเนียมได้ ลักษณะของการเชื่อมและวัสดุที่จะเชื่อมผู้ใช้งานจะต้องเลือกลวดเชื่อมให้เหมาะสมกับงานและปรับระดับกระแสไฟให้เหมาะสม ปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยม เพราะมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายง่าย ราคาไม่แพง และที่สำคัญมีฟังก์ชันการใช้งานสำหรับมือใหม่ที่ไม่เคยเชื่อมมาก่อนด้วย
ข้อดี
- น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายง่าย
- ราคาถูก
- เหมาะสำหรับมือใหม่ที่ต้องการฝึกฝนการเชื่อม
ข้อเสีย
- มีประกายไฟ
- มีควันจากการเชื่อมมาก
- ไม่เหมาะกับชิ้นงานบาง ๆ
- เครื่องเชื่อม TIG (Tungsten Inert Gas Welding)
ด้วยข้อจำกัดในการทำงานของเครื่องเชื่อมเลเซอร์จึงถือกำเนิดเครื่องเชื่อม TIG หรือ Tungsten Inert Gas Welding เครื่องเชื่อมอาร์กอน ที่อาศัยหลักการทำงานคล้าย ๆ กัน เพียงแต่เปลี่ยนจากเลเซอร์มาเป็นอาร์กอน ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาให้ตู้เชื่อมดังกล่าวสามารถที่จะเชื่อมด้วยกันได้ 3 ระบบ หรือที่รู้จักกันในนามของตู้เชื่อม AC/DC ประกอบไปด้วย
- เชื่อมอาร์กอน
- เชื่อมธูป
- เชื่อมอลูมิเนียม
ข้อดี
- ไม่มีประกายไฟ ควันน้อย
- ไม่ต้องเติมลวด
- ลอยเชื่อมสวยงาม
- สามารถเชื่อมกับชิ้นงานบาง ๆ โดยไม่ได้รับความเสียหายได้
ข้อเสีย
- ราคาค่อนข้างสูง
- ผู้เชื่อมต้องมีความชำนาญ
- เชื่อมได้ช้า
- ต้องใช้แก๊สในการเชื่อม
แนะนำเครื่องเชื่อมขนาดพกพา
- Prostormer ตู้เชื่อมไฟฟ้า 800วัตต์
เป็นเครื่องเชื่อมประเภท 2 in 1 Soldering Station Soldering Iron / Hot Air Gun หน้าจอแสดงผล LED Display ช่วยกำหนดค่าตัวเลขได้อย่างแม่นยำ ปลอดภัยด้วยการออกแบบให้ป้องกันไฟฟ้าสถิต, ทำความร้อนได้เร็ว เมื่อไม่ใช้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ความร้อนต่ำกว่า 100 องศาเซลเซียส จะเข้าสู่ Sleeping Mode ใช้งานง่าย เหมาะสำหรับมือใหม่ไปถึงมืออาชีพ
- เครื่องเชื่อมไฟฟ้า Raptor 200 Umini
จัดเป็นเครื่องเชื่อมอเนกประสงค์สำหรับมือใหม่อีกเครื่อง เพราะมีน้ำหนักเบา เชื่อมง่าย แนวเชื่อมสวย มีอุปกรณ์ครบไม่ต้องหาอุปกรณ์เสริมใด ๆ ยกเว้นอุปกรณ์สำหรับป้องกันอันตราย เช่น หน้ากาก ถุงมือหนังทนความร้อน เป็นต้น มาพร้อมกล่องพลาสติกให้เก็บเครื่องได้อย่างสะดวกสบาย ภายในกล่องนอกจากตัวเครื่องแล้วยังมีสายเชื่อมพร้อมคีมจับ 3 เมตร กระแสไฟเชื่อม 20 – 140 แรงดันไฟเข้า 220 ขนาดลวดเชื่อมที่ใช้ได้ 2.6 – 3.2 มิลลิเมตร
- FOGO เครื่องเชื่อมไฟฟ้ามือถือ แบบพกพา
ด้วยเทคโนโลยีในการผลิต ทำให้ FOGO ก้าวล้ำไปกว่าใครด้วยเครื่องเชื่อมมือถือ ที่ให้ความสะดวก สบายในการใช้งาน เพราะมีขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบา ใช้งานง่าย มือใหม่ก็ใช้ได้ สามารถเชื่อมอัลลอย คาร์บอน และเหล็กหล่อได้สบาย ๆ อิเล็กโทรดแบบไม่ติดอาร์กแบบดิจิทัล ป้องกันการเกาะติด เปลี่ยนมือใหม่ให้เป็นมืออาชีพได้ง่าย ๆ ขนาดลวดที่ใช้ 2.5/3.5 มิลลิเมตร พลังงาน 3000w หนักเพียง 1.5 กิโลกรัมเท่านั้น เหมาะสำหรับการเชื่อมในพื้นที่ที่จำกัด ไม่สามารถพกพาตู้เชื่อมเข้าไปได้หรือการเชื่อมในพื้นที่สูง เพียงแขวน FOGO เครื่องเชื่อมไฟฟ้ามือถือ ติดเอวไปกับเข็มขัดก็สามารถที่จะใช้งานในพื้นที่สูงได้แล้ว
- InnTech ตู้เชื่อม Inverter IGBT MMA-600S Dual Screen
ตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์ บอร์ดญี่ปุ่นแท้ มาพร้อมหน้าจอแสดงผล 2 หน้าจอ และ 3 ปุ่มการใช้งาน จึงใช้งานง่าย เหมาะสำหรับมือใหม่ สามารถใช้เชื่อมกับลวดเชื่อม L55 ลวดเชื่อมสแตนเลส และลวดเหล็กหล่อ ขนาด 2.6 – 4.0 มิลลิเมตร โดยใช้กับไฟบ้านได้ ไม่ทำให้เกิดปัญหาไฟกระชากหรือไฟตกด้วยมีระบบป้องกัน พร้อมกับมีระบบ Hot Start ที่ช่วยปรับสมดุลระหว่างการเชื่อม ทำให้สามารถทำงานเชื่อมได้ต่อเนื่องตามต้องการ
เป็นอย่างไรกันบ้างกับความรู้เรื่องเครื่องเชื่อมไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ หวังเป็นอย่างยิ่งว่ามือใหม่ทั้งหลายที่ต้องการจะฝึกฝนการเชื่อมโลหะต่าง ๆ เมื่อถึงคราวจำเป็นที่ต้องใช้ซ่อมแซมหรือสร้างสรรค์ชิ้นงานมาใช้ภายในบ้านจะสามารถเลือกใช้เครื่องเชื่อมให้ถูกประเภทและเลือกเครื่องสำหรับใช้งานได้อย่างเหมาะสม เผื่อในอนาคตจะสามารถเปลี่ยนตนเองให้กลายเป็นมืออาชีพได้
ที่มาข้อมูล: eitlase , eitlaser , wongtools
Comments 2