MBTI เป็นตัวชี้วัดทางบุคลิกภาพที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในปัจจุบัน ซึ่งบริษัทบางแห่งก็นำแบบทดสอบเรื่องดังกล่าวมาช่วยตัดสินใจเลือกผู้สมัครงานเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรด้วย แต่การประเมินบุคลิกภาพด้วยวิธีนี้อาจไม่ใช่วิธีวัดอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เพราะมีข้อจำกัดมากมายเกินกว่าจะบ่งบอกได้ว่าคน ๆ หนึ่งมีบุคลิก นิสัย และความคิดอย่างไร
MBTI มีที่มาจากอะไรใครเป็นคนคิดค้น
Myers-Briggs Type Indicator หรือตัวชี้วัดไมเออร์-บริกส์ เป็นแบบทดสอบเพื่อใช้วัดว่าบุคคลนั้น มีจุดแข็ง บุคลิกภาพ ในลักษณะอย่างไร โดยตัวชี้วัดนี้มีความถนัด 4 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่
- สภาพแวดล้อมที่ชอบอยู่ (Introversion-Extroversion) เป็นการชี้วัดว่าบุคคลนั้นชื่นชอบการออกสังคม หรือเก็บตัวเงียบอยู่คนเดียว ซึ่งลักษณะบุคคลที่มีพลังงานมากรู้สึกกระตือรือร้นเมื่อพบปะสังสรรค์กับผู้อื่น จะเรียกว่าเป็นประเภท Extraversion (E) แต่ถ้ารู้สึกผ่อนคลาย เวลาอยู่คนเดียวแล้วมีพลัง คือกลุ่ม Introversion (N)
- การรับรู้ : Sensing – Intuitive เมื่อมีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้น บุคคลแต่ละประเภทจะมีความคิดอย่างไร ซึ่งหากเป็นกลุ่ม Sensing (S) จะมองโลกไปตามความเป็นจริง ในขณะที่กลุ่ม Intuitive (N) จะช่างจินตนาการ หรือความคิดนำหน้าสิ่งที่อยู่ตรงหน้า เช่น เมื่อนำก้อนหิน มาวางใส่มือคนถือค้อน บุคลิกกลุ่ม S จะคิดว่าแค่คนถือก้อนหินและค้อนเท่านั้น ส่วนบุคลิกกลุ่ม I มีแนวโน้มคาดการณ์ว่าคนถือค้อนจะทุบก้อนหินให้แหลกละเอียด
- การตัดสินใจ : Thinking – Feeling ผู้ที่ตัดสินใจโดยยึดถือเหตุผล ความเป็นจริง และพิสูจน์ได้ตามหลักวิทยาศาสตร์ จะเรียกคนกลุ่มดังกล่าวว่า Thinking (T) ในขณะที่ผู้ใช้ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ สำหรับการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ จะเรียกว่ากลุ่ม Feeling
- แนวทางการใช้ชีวิต : Judging – Perceiving ถ้าชอบในการวางแผน มีขั้นตอนที่ชัดเจน และรู้สึกดีเมื่อได้วางแผนสิ่งต่าง ๆ อย่างรัดกุม จะเรียกว่ากลุ่ม Judging (J) แต่หากยืดหยุ่น และเอาตัวรอดได้ดีกับสถานการณ์เฉพาะหน้า หรือเหตุการณ์คับขันสุด ๆ ลักษณะนี้ คือ กลุ่ม Perceiving (P)
MBTI มีกี่บุคลิกภาพ
เมื่อนำตัวชี้วัดทั้งหมดมาจัดกลุ่มเข้าด้วยกัน จะได้ว่าบุคลิกภาพของคนบนโลกที่ MBTI นิยามไว้มีทั้งหมด 16 แบบ จัดเรียงตามกลุ่มตัวอักษรย่อ 4 ตัว ดังนี้
- INTJ “นักออกแบบ” ลักษณะเด่นของคน INTJ คือ มีวิสัยทัศน์ มองการณ์ไกล คิดถึงความเป็นไปได้ และความคิดมักซับซ้อน
- INTP “นักตรรกะ” นิยมใช้การวิเคราะห์อย่างเป็นเหตุเป็นผล มีความคิดสร้างสรรค์ และเป็นนักทฤษฎี เพราะตรรกะความคิดดีมาก เรามักพบเห็นคนบุคลิกภาพนี้ในนักวิทยาศาสตร์ นักประดิษฐ์ วิศวกรรม
- ENTP “นักโต้วาที” เป็นบุคลิกที่ชอบการเห็นต่างกับบุคลิกภาพประเภทอื่น ที่สำคัญชอบตั้งคำถามกับเรื่องต่าง ๆ เป็นอย่างมาก เมื่อมีเรื่องสงสัยแล้ว ต้องรีบหาคำตอบให้ได้เสมอ
- ENTJ “ผู้บัญชาการ” กลุ่มนี้พบได้มากในนักธุรกิจ มีความเป็นผู้นำ ชื่นชอบความท้าทาย และเป็นนักเจรจาตัวยง แต่มักไม่เป็นที่ชื่นชอบของคนรอบข้าง
- INFJ “ผู้แนะนำ” เป็นบุคลิกภาพกลุ่มที่หาได้ยากที่สุด เป็นคนที่สุขุม นุ่มลึก ชื่นชอบในการทำงานอาสาเพื่อสังคมต่าง ๆ และเข้าใจความรู้สึกของคนรอบข้างเป็นอย่างดี
- INFP “ผู้ไกล่เกลี่ย” เป็นกลุ่มคนที่มีพรสวรรค์ในการสื่อสาร มีทักษะไกล่เกลี่ยความขัดแย้งกับคนรอบข้างอย่างดี มักเป็นกลุ่มคนที่หลีกเลี่ยงความขัดแย้ง และชื่นชอบรับฟังปัญหาของทุกคน
- ENFJ “ตัวเอก” มีความเป็นผู้นำโดยธรรมชาติ การพูดหรือการกระทำมักมีเสน่ห์ เชื่อมั่นในผู้อื่น บุคลิกภาพของคนกลุ่มนี้จึงเหมาะแก่การสร้างแรงบันดาลใจ เช่น โค้ช หรือครู เป็นต้น
- ENFP “นักรณรงค์” เป็นคนรักความอิสระ ชื่นชอบการเข้าสังคม มีจินตนาการเป็นแรงขับเคลื่อนในการทำสิ่งต่าง ๆ และพึ่งพาสัญชาตญาณในการดำรงชีวิต มากกว่าการคิดวิเคราะห์
- ISTJ “นักคำนวณ” เป็นบุคลิกภาพที่พบได้มากที่สุด มีความเถรตรง ซื่อสัตย์ และเคารพต่อกฎระเบียบ ที่สำคัญบุคลิกภาพนี้เคารพเวลาของผู้อื่นเป็นอย่างมาก หากรู้สึกว่าใกล้กำหนดเดดไลน์ จะรู้สึกกระวนกระวายขึ้นมาทันที
- ISFJ “ผู้ตั้งรับ” จุดเด่นคือมีความเมตตาสูง พร้อมปกป้องคนที่อ่อนแอกว่า มีทักษะการเข้าสังคมได้ดี ชื่นชอบความปลอดภัยและความมั่นคง มักพบได้กลุ่มคนที่เป็น หมอ และนักสังคมสงเคราะห์
- ESTJ “ผู้บริหาร” นิยมใช้กฎเกณฑ์และประเพณี เป็นกรอบในการดำเนินชีวิต ให้คุณค่ากับความซื่อสัตย์ และเกียรติยศ เป็นกลุ่มคนที่เป็นต้นแบบ ที่ควรค่าแก่การปฏิบัติตามของคนในสังคม
- ESFJ “ ผู้ให้คำปรึกษา” เป็นบุคลิกภาพที่มีความเป็นกันเองสูง ชื่นชอบในการให้คำปรึกษา จดจำรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ของผู้สนทนาและเพื่อนฝูงได้เป็นอย่างดี จึงไม่แปลกใจที่คนกลุ่มนี้จะเป็นที่รักกับคนรอบข้าง
- ISTP “ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะ” เป็นบุคลิกภาพที่ชื่นชอบการลงมือและปฏิบัติ ทดลองผลงานจนให้ผลเป็นที่น่าพอใจในสิ่งที่ตนทำ กล้าที่จะแตกต่าง พบมากในวิศวกร
- ISFP “นักผจญภัย” เกิดมาเพื่อพร้อมเป็นศิลปินในตัว รักความอิสระ มีความสุขในสิ่งที่เป็น และไม่สนใจต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์รอบข้าง
- ESTP “ผู้ประกอบการ” รักในการแสดงออก อารมณ์ขัน มักสร้างเสียงหัวเราะกับคนรอบข้าง และกระตือรือร้น
- ESFP “ผู้มอบความบันเทิง” ชื่นชอบการถูกมองว่ามีชื่อเสียง ขี้เล่น คุยกับผู้อื่นด้วยเรื่องอะไรก็ได้ จุดเด่นสำคัญ คือเป็นเจ้าแม่แฟชั่น การแต่งตัวโดดเด่นจนเป็นเอกลักษณ์
การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน กับข้อจำกัดที่ควรรู้
แบบทดสอบไมเออร์-บริกส์ มีประโยชน์มาก สำหรับการค้นหาว่าตนเองเหมาะสำหรับงานแบบใด และควรปรับปรุงจุดไหน ให้พัฒนาบุคลิกภาพให้ดียิ่งขึ้น แต่แบบทดสอบนี้ไม่ได้สร้างไว้เพื่อให้คนยึดติดว่าเราคือคนประเภท A B C ฯลฯ จึงต้องปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับบุคลิกดังกล่าว และฝืนธรรมชาติของตนเองมากจนเกินไป
เช่น ได้ผลทดสอบออกมา คือบุคลิกกลุ่ม Introversion ไม่ได้แสดงว่า ต้องพูดน้อย,ไม่เข้าสังคม, เลี้ยงแมว ฯลฯ เพราะจริง ๆ แล้ว Introversion ตามนิยามของแบบทดสอบใช้แค่บ่งบอกว่าคนกลุ่มนี้รู้สึกสบายใจเมื่อได้ใช้เวลาอยู่กับตัวเอง มากกว่าการอยู่ร่วมกับผู้อื่น อีกทั้งคนพูดน้อยหลายคนก็ยังเข้าสังคมได้ดีด้วย เพียงแค่พวกเขาต้องการเวลาเงียบ ๆ เพื่อชาร์จตัวเองบ้างบางคราวเท่านั้นเอง
การทำแบบทดสอบวัดบุคลิกภาพยังมีข้อจำกัดที่สำคัญ นั่นคือ การตอบแบบทดสอบให้ทำทางออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ ระหว่างทำแบบสอบถามจึงมีแนวโน้มเสียสมาธิ ตอบคำถามไปแบบส่ง ๆ หรือบางคนตั้งธงไว้ในใจแล้วว่าต้องมีบุคลิกภาพแบบ INFJ เพราะเป็นประเภทหายาก หรืออยากมีบุคลิกเหมือนไอดอลของตน การทำแบบแบบทดสอบจึงอาจตอบเพื่อให้ใกล้เคียงกับบุคลิกที่ตนชื่นชอบมากที่สุด
นอกจากนี้แบบทดสอบวัดบุคลิกภาพดังกล่าว ยังมีข้อถกเถียง ถึงความถูกต้องแม่นยำ เพราะลักษณะนิสัย แนวคิด สภาพแวดล้อมการเติบโตของผู้คน มีความซับซ้อนมากเกินกว่าจะวัดได้เพียง 16 แบบ
แนะนำหนังสืออื่น ๆ ช่วย พัฒนาตนเอง ได้ไม่แพ้กัน
หากสนใจศึกษาเรื่องบุคลิกภาพเพื่อพัฒนาตนเองมากขึ้น เรามีหนังสือที่ควรอ่านมาแนะนำกัน ดังนี้
- เมื่อแมวที่บ้านคุณ ผันตัวมาเป็นไลฟ์โค้ช
หนังสือที่ผู้เขียนตกผลึกไอเดียมาจากการสังเกตแมวที่บ้านตนเอง ซึ่งข้อคิดที่ได้ คือ “แมว” มีเสน่ห์โดยธรรมชาติ อย่างน่าประหลาด นั่นคือ อยู่เฉย ๆ ก็มีคนรัก ไม่ทุกข์ร้อน นอนบิดขี้เกียจ ก็มีความสุขอีกต่างหาก ทำให้ “ความเป็นตัวของตัวเอง” สำคัญมาก หลายคนเลือกเปลี่ยนตัวเองไปเป็นอีกคน ทั้งที่ต้องฝืนความรู้สึก เพื่อเข้าสังคม แต่ก็ทนทำแบบนั้นไม่ได้นาน หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้ตระหนักในความเป็นตัวตนของเรามากขึ้น และทำให้คุณมีเสน่ห์ในแบบฉบับตนเอง
- ศิลปะการอยู่ร่วมกับคนเฮงซวย
เชื่อว่าหลายคนมีประสบการณ์ต้องเจอกับคนน่ารังเกียจ ซึ่งผู้เขียนเคยรับมือกับคนในหลายวงการ หนังสือเล่มนี้ จะแนะนำให้คุณรับมือกับคนกลุ่มนี้มีประสิทธิภาพ หาทางออกกับปัญหาที่ถูกต้อง จนไปถึงการตอบโต้กลับในกรณีที่จำเป็น
แบบทดสอบไมเออร์-บริกส์ เป็นเพียงรูปแบบหนึ่งของการศึกษาบุคลิกภาพ นิสัย และทัศนคติ ไม่ได้มีความแม่นยำจนสามารถตัดสินการกระทำของใครคนใดคนหนึ่งได้เลย ซึ่งหากต้องการศึกษาบุคลิกภาพของผู้คนอย่างแท้จริง ควรพบปะกับผู้อื่นอยู่บ่อย ๆ ผ่านการพูดคุย และอ่านหนังสือเล่มอื่นประกอบด้วย จะช่วยให้การศึกษาจิตวิทยามีประสิทธิภาพมากกว่าแบบทดสอบเพียงอย่างเดียว
ที่มาข้อมูล: startdee , myersbriggs , 16personalities , psychologytoday