ผ้าเบรครถจักรยานยนต์ เป็นหนึ่งในส่วนประกอบสำคัญของระบบเบรกที่ทำหน้าที่ในการห้ามล้อ หรือชะลอความเร็วของรถที่กำลังวิ่งอยู่ เมื่อผู้ขับขี่ทำการกำเบรกหรือเหยียบเบรก ระบบเบรกจะทำการบีบให้ผ้าเบรกสัมผัสกับจานเบรก เมื่อเกิดแรงเสียดทานรถจักรยานยนต์จึงหยุดลง ด้วยการทำงานดังกล่าวจึงทำให้ ผ้าเบรค สึกหลอและค่อย ๆ เสื่อมสภาพไปจนกระทั่งได้ยินเสียงของโลหะเสียดสีกัน หรือเริ่มรู้สึกว่าเบรกแล้วรถใช้ระยะเวลาในการหยุด หรือชะลอตัวช้าลง ซึ่งหากเกิดเหตุการแบบนี้สันนิษฐานไว้เลยว่าผ้าเบรกมอเตอร์ไซค์ กำลังจะไปในไม่ช้า
เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับ ผ้าเบรค รถจักรยานยนต์มีอะไรบ้าง
- ต้องทนความร้อนสูง
ในขณะที่รถจักรยานยนต์กำลังวิ่งและผู้ขับขี่ทำการกำเบรกหรือเหยียบเบรกแบบค่อยเป็นค่อยไป ทำให้รถชะลอความเร็วลง ในช่วงเวลาดังกล่าวส่งผลให้เกิดการเสียดสีระหว่างจานเบรกกับผ้าเบรกจึงเกิดความร้อนขึ้น ยิ่งรถใช้ความเร็วมากเท่าใดแรงเสียดสีที่เกิดขึ้นย่อมส่งผลต่อความร้อนของผ้าเบรกมากเท่านั้น ในการเลือกผ้าเบรกจึงควรดูส่วนผสม ถ้าหากมีส่วนผสมหรือเนื้อผ้าเบรกผลิตจากแร่ใยหิน Asbestos ให้พิจารณาหลีกเลี่ยง เพราะหากเกิดความร้อนสะสมในปริมาณมาก จะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการเบรก หรือศัพท์ทางเทคนิคเรียกว่า เบรก Fade ซึ่งก็คืออาการเบรกหาย หมายถึง อาการที่เหยียบเบรก หรือกำเบรกแล้วไม่มีแรงดันหรือปฏิกิริยาใด ๆ ตอบสนอง ผู้ขับขี่ควรตั้งสติและหันมาใช้ระบบการเบรกด้วยเครื่องยนต์แทน พร้อมกับลดคันเร่งลงแล้วประคองรถลงจอดข้างทางเพื่อความปลอดภัย
- ต้องทนน้ำได้
เป็นที่รู้กันว่าประเทศไทยประกอบไปด้วยฤดูร้อน หนาว และฝน ดังนั้น ผ้าเบรกจะต้องทนต่อน้ำได้ โดยเฉพาะในกรณีที่จำเป็นต้องขับขี่รถตากฝนหรือลุยน้ำท่วม นอกจากจะไม่เปื่อยยุ่ยแล้วประสิทธิภาพในการเบรกจะต้องไม่ลดลงด้วย
- ควรเปลี่ยนทุก ๆ 4,000-5,000 กิโลเมตร
ค่าเฉลี่ยของการสึกหรอของ ผ้าเบรครถมอเตอร์ไซค์ จะอยู่ที่ประมาณ 4,000-5,000 กิโลเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละคน ว่าใช้รถมอเตอร์ไซค์เป็นประจำหรือไม่ นิสัยในการขับขี่ การเบรก เป็นต้น ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย ควรตรวจเช็คได้ด้วยตนเองทุก ๆ 6-12 เดือน
- เลือกผ้าเบรคมอเตอร์ไซค์ตามสไตล์การขับขี่
วัสดุที่ใช้ผลิตผ้าเบรคมอเตอร์ไซค์แต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ราคาก็จะแตกต่างกันด้วย ดังนั้นเวลาเลือกซื้อเพื่อเปลี่ยนควรพิจารณาตามสไตล์การขับขี่เพื่อสอดคล้องกับประสิทธิภาพในการขับขี่ได้ดีที่สุด มาดูกันว่าแต่ละสไตล์การขับขี่ควรเลือกผ้าเบรกแบบใดจึงเหมาะสม
- ผ้าเบรคเมทัลลิก เหมาะสำหรับรถแข่งหรือรถที่ใช้ความเร็วสูงอยู่เป็นประจำ เพราะผ้าเบรกเมทัลสามารถตอบสนองต่อการเบรกได้ดี
- ผ้าเบรค NAO หรือ Non Asbestos Oraganic เป็นผ้าเบรกที่ผลิตจากใยสังเคราะห์ที่ปราศจากแร่ไยหิน เช่น เซรามิก, แก้ว, ยาง ฯลฯ โดยมีเรซินเป็นตัวประสาน บางรุ่นอาจมีใยเหล็กผสมอยู่ด้วย สามารถทนอุณหภูมิสูงถึง 200 องศา นิยมใช้กับรถจักรยานยนต์ทั่วไป ราคาถูก
- ผ้าเบรคกึ่งโลหะ หรือ Semi- Metallic เป็นผ้าเบรกที่มีส่วนผสมของ NAO และเหล็กในปริมาณที่มากขึ้น รวมถึงเส้นใยจากโลหะอื่น ๆ เช่น ทองแดง, เหล็กกล้า ฯลฯ ทนอุณหภูมิร้อนสูง ราคาปานกลาง ระบายความร้อนได้ดี ผ้าเบรกหมดช้า
- ผ้าเบรคใยหิน (ASBESTOS) เป็นผ้าเบรกที่ผลิตจากแร่ใยหิน ไม่ควรเลือกนำมาใช้งาน เพราะไม่สามารถทนอุณหภูมิสูงได้
- ในการเลือก ควรเลือกที่มีนวัตกรรมใหม่ ๆ
เนื่องจากระบบเบรกเป็นระบบที่มีความสำคัญต่อชีวิตและทรัพย์ ผู้ขับขี่ควรเลือกซื้อเพื่อเปลี่ยนผ้าเบรกอย่างพิถีพิถัน เพราะหากเลือกผิดอาจเป็นภัยมหันส่งผลเสียต่อระบบเบรกและอันตรายต่อชีวิตของผู้ขับขี่ได้ ดังนั้นนอกจากจะเลือกผ้าเบรกที่ผลิตจากวัสดุที่ดี ทนความร้อนสูงแล้ว ควรเลือกที่มีนวัตกรรมใหม่เพื่อช่วยในเรื่องของการเบรกได้ดีและมีประสิทธิภาพมากที่สุด เช่น แถบแสดงสถานะ เพื่อช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถมองเห็นได้ว่าผ้าเบรกใช้งานไปถึงระดับใด สมควรเปลี่ยนหรือไม่ รวมไปถึงเทคโนโลยีการผลิตในการประสานเส้นใยให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อการเบรกที่ปลอดภัยต่อการใช้งาน
- อาการเบรกไม่อยู่บ้างครั้งก็ไม่ได้มาจากผ้าเบรกหมด
เมื่อพบว่ารถจักรยานยนต์ที่ใช้งานประสบปัญหาเบรกไม่ค่อยสนิท แม้จะมีการเปลี่ยนผ้าเบรกมาใหม่แล้วก็ตาม บางครั้งอาจไม่ได้เกี่ยวข้องกับผ้าเบรกเสมอไป เจ้าของรถควรตรวจสอบในเรื่องของน้ำมันเบรกที่กระปุกน้ำมันเบรกด้วย เพราะเป็นไปได้ว่าน้ำมันเบรกอาจลดลงจากระดับปกติ เจ้าของรถควรทำการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ
- เปลี่ยนผ้าเบรกไม่จำเป็นต้องเจียร์จานเบรกทุกครั้ง
ในการเปลี่ยนผ้าเบรกแต่ละครั้งมักจะได้ยินช่างเสนอให้เจ้าของรถเจียร์จานเบรกทุกครั้ง ซึ่งจริง ๆ แล้วมันไม่จำเป็นที่จะต้องเจียร์จานเบรกทุกครั้งที่ต้องเปลี่ยนผ้าเบรก การเจียร์จานเบรกจะทำก็ต่อเมื่อพื้นผิวสัมผัสของจานเบรกไม่เรียบสม่ำเสมอหรือมีรอย สาเหตุมาจากผู้ขับขี่ฟื้นขี่รถและใช้งานเบรกจนกระทั่งผ้าเบรกสึกจนหมด ส่งผลให้เหล็กหรือโลหะที่ยึดเกาะกับผ้าเบรกขูดหรือเสียดสีกับจานเบรกจนเป็นรอย ดังนั้นเพื่อไม่ให้จานเบรกเป็นรอยและต้องเจียร์จานเบรกทุกครั้ง ควรเปลี่ยนผ้าเบรกก่อนกำหนดหรือพิจารณาด้วยตาเปล่า อย่าปล่อยให้ได้ยินเสียงเอี๊ยดอ๊าดระหว่างเบรก เพราะนั่นหมายถึงผ้าเบรกกำลังสึกหรออย่างหนักนั่นเอง
สำหรับท่านที่เป็นเจ้าของรถมอเตอร์ไซค์ อย่าลืมที่จะตรวจสอบผ้าเบรกด้วยตนเอง เพราะปัจจุบันผู้ผลิตรถจักรยานยนต์หลายรายติดตั้งผ้าเบรกมาให้พร้อมแถบวัดระดับการสึกหรอ เพียงแค่เช็คด้วยตาเปล่าก็สามารถรู้ได้เลยว่าถึงเกณฑ์ที่จะต้องเปลี่ยน ก็นำไปเปลี่ยนที่ศูนย์บริการหรือสั่งซื้อสินค้ามาเองและนำไปให้ร้านเปลี่ยนให้ก็จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายลงไปได้ สำหรับท่านที่อยากช้อปปิ้งอุปกรณ์จำพวกผ้าเบรก สามารถเข้าเลือกชมสินค้าได้ที่ลาซาด้าที่นี่นอกจากจะมีผ้าเบรกจำหน่ายแล้ว ยังมีอุปกรณ์เสริมอื่นๆ ที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับรถคุณ
ที่มาข้อมูล: taradfilter , my-best , realmotosports , yamahakrabi , lensowheel , boxzaracing , kapook
Comments 3