เมื่อเข้าสู่ช่วงหลังคลอด คุณแม่ควรให้ความสำคัญกับการเลือกชุดชั้นในใหม่ ซึ่งจะไม่ใช่แบบเดิม ๆ เพราะคุณแม่จะมีภารกิจสำคัญเพิ่มเข้ามาในชีวิต นั่นคือการให้นมลูก ดังนั้นควรเปลี่ยนมาเป็น เสื้อในให้นม ที่สามารถเปิดช่องพิเศษเพื่อให้ลูกเข้าเต้าดูดนมได้ง่าย ทันใจ และสะดวกต่อตัวคุณแม่เองด้วย มาดูกันว่าคุณแม่ลูกอ่อนควรเลือกชุดชั้นในแบบไหน
วันแรกของการใส่ชุดชั้นในและ เสื้อในให้นม
หลายคนอาจจะคิดว่าเสื้อชั้นในให้นมต้องใส่ตอนเริ่มให้นมลูก แต่ในความเป็นจริงคุณแม่ควรเริ่มใส่เสื้อชั้นในให้นมตั้งแต่ตอนท้องแก่ใกล้คลอด เพราะตอนท้องหน้าอกของคุณแม่จะขยายใหญ่ขึ้น สังเกตได้ว่าเวลาใส่บราตัวเดิม ๆ จะรู้สึกคับอึดอัด เพราะร่างกายของคุณแม่เริ่มเตรียมความพร้อมที่จะให้นมลูกหลังคลอดนั่นเอง ช่วงเวลานั้นให้คุณแม่เริ่มใส่ชุดชั้นในคนท้องหรือเสื้อในให้นมได้เลย ไม่ควรใส่บราตัวเดิมต่อไป หรือเสื้อชั้นในแบบทั่วไปเพราะอาจเกิดแรงกดทับทำให้ท่อน้ำนมอักเสบได้
เสื้อในให้นม มีแบบไหนบ้าง ควรเลือกอย่างไรดี
การเลือกเสื้อในให้นมควรคำนึงถึงการใช้งานในชีวิตประจำวันเพราะคุณแม่ต้องให้นมลูกทุกวัน วันละหลาย ๆ ครั้ง ระยะแรกของการคลอดอาจเป็นการใช้งานที่บ้าน คุณแม่อาจเลือกเสื้อในให้นมที่มีเนื้อผ้านุ่ม ยืดหยุ่นใส่สบายไม่ร้อนและสามารถเลือกเสื้อในแบบไร้โครงจะรู้สึกผ่อนคลายมากกว่า จะเลือกเป็นแบบเปิดด้านหน้าก็ได้ เพราะอยู่ในพื้นที่ส่วนตัวเปิดเต้าได้เต็มที่
ในเดือนที่ 4 หรือ 5 เป็นต้นไป คุณแม่อาจจะต้องออกไปทำธุระบ้างในบางครั้ง เมื่อมีเหตุจำเป็นต้องออกไปนอกบ้านมากขึ้น ถ้าต้องนอกบ้านและอุ้มลูกไปด้วยคุณแม่ควรเตรียมเสื้อในให้นมที่สามารถเปิดด้านข้างโดยใช้มือข้างเดียวได้เพื่อความสะดวกมากขึ้นและเลือกชุดชั้นในที่มีโครงเพื่อให้ดูดีเวลาใส่กับชุดสวย ๆ จะได้อุ้มลูกแบบสมาร์ทมั่นใจเต็มร้อยไปเลย หากพอจะมองไอเดียออกแล้ว เรามาเลือกชั้นในให้นมลูก จะมีแบบไหน ยี่ห้อใด น่าซื้อบ้างมาดูกัน
- Mama’s Choice Seamless Hands Free Pumping Bra
ใช้เป็นเสื้อในให้นมและเป็นบราปั๊มนมได้ เวลาคัดเต้าก็สามารถเปิดแล้วใช้ที่ปั๊มนมรองไว้ได้เลยไม่ต้องใช้มือจับ เพราะยี่ห้อนี้ผลิตด้วยนวัตกรรมแบบไร้ตะเข็บ ให้นมและปั๊มนมได้สะดวก สีจะออกแนวเรียบ ๆ ใส่ได้เรื่อย ๆ ใส่อยู่บ้านสบาย ๆ เพราะผ้าเป็นแบบนุ่มลื่นเนื้อเย็นเหมาะกับคุณแม่ขี้ร้อน ปรับขนาดรอบตัวได้ 4 ระดับ ใส่ไปเลยยาว ๆ เวลาเลี้ยงลูกไปนาน ๆ แล้วผอมลงก็ปรับให้กระชับลำตัวมากขึ้นได้
- DODOLOVE
เนื้อผ้า Nilit Softex ใส่ให้นมและปั๊มนมได้เช่นกัน เป็นแบบไร้โครงใส่สบาย เก็บเต้าดีช่วยพยุงเต้าคุณแม่ไม่ให้หย่อนคล้อย ฟองน้ำด้านในสามารถถอดไปซักได้ สำหรับคุณแม่ที่ไม่ชอบเสื้อในมีโครงก็ไม่ต้องเป็นกังวล เพราะบางคนอาจจะมองว่าต้องใส่ดันโครงจึงจะเก็บเต้าได้หมด แต่ถ้าเป็นรุ่นนี้อย่างไรก็เก็บหมด ข้อดีของการไม่มีโครงก็คือคุณแม่ไม่ต้องกังวลว่าลูกจะเจ็บเพราะโดนโครงเสื้อกดทับ
- K-SARA
ของเครือสหพัฒน์ ใส่ให้นมลูกแบบเปิดเต้าชิล ๆ มีให้เลือกสรรทั้งรุ่นที่มีโครง และรุ่นที่ไม่มีทั้งโครงและฟองน้ำ มีผ้าซับน้ำนม ในแง่ของการใช้งานจัดว่าสะดวกมาก สามารถเปิดให้นมและปั๊มนมได้ง่าย เนื้อผ้าของตัวบราทำจากไนล่อนผสมเส้นใยสแปนเด็กซ์ใส่สบาย หากคุณแม่เลือกแบบไม่มีโครงจะช่วยให้เคลื่อนไหวได้สะดวกและไม่รัดแน่น
จำเป็นต้องใส่เสื้อชั้นในให้นมนานขนาดไหน
คุณแม่ที่ไม่ได้ออกไปไหน เลี้ยงลูกอยู่บ้านอาจมองว่าไม่ต้องใส่บราก็ได้เพราะต้องให้นมลูกทั้งวันใส่ไปก็เกะกะ แต่อย่าชะล่าใจนะคะ ถ้าไม่ใส่บราไปนาน ๆ หน้าอกอาจหย่อนคล้อยได้ง่าย ยิ่งให้นมลูกยิ่งต้องระวังและรักษาหุ่นไว้ก่อน ข้อดีของเสื้อในให้นมก็คือ
- ช่วยยกกระชับหน้าอก ไม่ให้เสียทรงง่าย ต่อให้มีลูกอีกหลายคนก็ยังอกเต่งตึง
- แม่ลูกอ่อนมักจะมีน้ำนมซึมออกมาแม้ว่าลูกจะไม่ได้ดูดนมอยู่ ถ้าใส่เสื้อในให้นมไว้ที่ตัวเสื้อจะมีแผ่นซับน้ำนมช่วยป้องกันไม่ให้น้ำนมซึมเปรอะเปื้อน
- ช่วงให้นมลูก หน้าอกคุณแม่จะขยายและอาจมีน้ำหนักมาก ชั้นในให้นมจะเป็นตัวรับน้ำหนักเต้านมของคุณแม่ได้ ไม่ทำให้ปวดหลัง
- ถึงแม้จะเป็นแม่ลูกอ่อนแต่ก็ยังดูดีเพราะการใส่เสื้อในให้นมทำให้ทรวดทรงดูกระชับ
- เสื้อในให้นมช่วยลดอาการปวดเต้านมเวลานมคัดมาก ๆ เพราะเสื้อจะคอยพยุงเต้าไว้
มีเสื้อในให้นมที่ดีแล้ว ควรมีกางเกงชั้นในที่ดีสำหรับคุณแม่ด้วยนะคะ เลือกซื้อสินค้าคุณแม่หลังคลอดได้ที่ลาซาด้า อย่าลืมว่าหลังคลอดช่วงล่างของคุณแม่ก็สำคัญ จากการที่ต้องอุ้มท้องมานาน หน้าท้องที่ขยายออกเพราะการตั้งครรภ์จะทำให้หมดสวย ควรหากางเกงชั้นในที่กระชับหน้าท้องโดยทำจากเนื้อผ้าที่ยืดพิเศษสามารถใส่กระชับได้โดยไม่รัดตึงเกินไปจนเสียสุขภาพ และเป็นเนื้อผ้าที่ระบายอากาศดีจะได้ไม่เกิดการอับชื้น ส่วนการตัดเย็บรูปทรงกางเกงควรยืดหยุ่นตามสรีระร่างกาย ถึงแม้จะเป็นแม่ลูกอ่อนแต่ก็สามารถกลับมาสวยดังเดิมได้ด้วยการใส่ใจตัวเองเพื่อให้ดูดีตลอดไปค่ะ
ที่มาข้อมูล: theasianparent , mahidol
Comments 1