น้ำยาแอร์ คือหัวใจสำคัญในการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ ไม่ว่าจะเป็นแอร์ในบ้าน อาคาร สำนักงาน หรือแอร์ในรถยนต์ของเรา รวมไปถึงพวกเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างพวกตู้แช่เย็น ต่างก็จำเป็นต้องพึ่งพาน้ำยาทำความเย็นตัวนี้ ซึ่งเรื่องน้ำยาทำความเย็นคือหนึ่งเรื่องใกล้ตัวที่สำคัญที่เราควรจะมีความรู้ติดตัวเอาไว้ด้วย เพื่อสามารถเลือกใช้ได้อย่างถูกต้องและคุ้มค่า
น้ำยาแอร์ มีกี่ชนิด แตกต่างกันอย่างไร
เรื่องแรกที่สำคัญมาก ๆ สำหรับการเลือกน้ำยาทำความเย็นมาใช้งานก็คือการทำความรู้จักว่าน้ำยาที่เราใช้กันอยู่นั้นมีกี่ประเภท แล้วแต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ซึ่งความรู้นี้จะช่วยให้เราตัดสินใจเลือกได้ว่าน้ำยาทำความเย็นแบบไหนที่เหมาะกับการใช้งานของเรามากที่สุด
- น้ำยาทำความเย็น R22 สำหรับน้ำยารุ่น R22 ถือเป็นน้ำยาทำความเย็นรุ่นที่เก่าที่สุด แต่ก็เป็นน้ำยาที่ได้ได้รับความนิยมมากที่สุดเช่นกัน ส่วนมากมักถูกนำไปใช้งานในแอร์บ้าน สำนักงาน และร้านค้าทั่วไป ข้อดีคือเป็นสารที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีความปลอดภัย และไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยง อีกทั้งเป็นสารที่ไม่ติดไฟ จึงมั่นใจได้ในความปลอดภัย แต่น้ำยารุ่น R22 เองก็มีข้อเสียอยู่เหมือนกัน เพราะ R22 ถือเป็นสารทำความเย็นที่มีค่า ODP สูง ซึ่งจะส่งผลต่อการทำลายชั้นบรรยากาศ และยังเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดภาวะเรือนกระจกด้วย
- น้ำยาทำความเย็น R410A นี่คือน้ำยาที่มีส่วนประกอบของ Fluorocarbon เป็นน้ำยาที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ทดแทนสารรุ่น R22 ข้อดีคือไม่ติดไฟ มีค่า ODP ที่ต่ำ เป็นมิตรต่อโอโซนในชั้นบรรยากาศ แต่ปัญหาคือสารรุ่น R410A นี้จะมีราคาที่สูงกว่า R22 อยู่พอสมควร และก็ยังคงมีค่าสารบางตัว (เช่น GWP) ที่ยังคงสูงอยู่ และสารที่ว่านี้ก็คือตัวการทำให้เกิดภาวะเรือนกระจกเช่นกัน
- น้ำยาทำความเย็น R32 นับเป็นสารทำความเย็นรุ่นใหม่ที่เน้นเรื่องการช่วยประหยัดพลังงาน และลดการปล่อยสารที่เป็นตัวทำลายชั้นบรรยากาศของโลก ทั้งยังเป็นสารที่มีจุดเดือดของน้ำยาค่อนข้างต่ำ ทำให้คอมเพรสเซอร์ทำงานเบาลง ทำความเย็นได้ไวและเร็วกว่าน้ำยาประเภทอื่น แต่ก็ใช่ว่า R32 จะไม่มีข้อเสียเลย เพราะน้ำยาประเภทนี้เป็นสารที่อยู่ในกลุ่ม A2 หรือกลุ่มที่มีคุณสมบัติติดไฟได้เล็กน้อย ซึ่งนั่นอาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งานได้หากมีการใช้สารทำความเย็น R32 ในเครื่องปรับอากาศที่มี BTU สูง ๆ
จะรู้ได้อย่างไรว่าถึงเวลาเปลี่ยนหรือเติม น้ำยาแอร์ แล้ว
- ปริมาณลมออกมาน้อย สัญญาณหนึ่งที่บอกว่าน้ำยาแอร์ของเครื่องปรับอากาศที่บ้านหรือในรถของเราเริ่มน้อยลงแล้ว สังเกตได้จากปริมาณลมที่น้อยลง และหากเปิดแล้วต้องใช้เวลานานกว่าเดิมห้องถึงจะเย็น นั่นก็แสดงว่าน้ำยาทำความเย็นเริ่มน้อยแล้ว
- ลมที่ออกมาเป็นลมร้อน ข้อนี้คือสัญญาณที่บอกกับเราว่าในระบบของแอร์มีรอยรั่วที่เป็นตัวการทำให้น้ำยาทำความเย็นไหลออกจนพร่องลงไป ให้รีบติดต่อช่างมาตรวจสอบหารอยรั่วและเติมน้ำยาให้โดยเร็ว
- บิลค่าไฟที่สูงผิดปกติ ถ้าลองสังเกตดูพฤติกรรมการใช้ไฟของคนในบ้านแล้วพบว่าใช้งานเท่า ๆ เดิมตามปกติ แต่เรากลับต้องมาจ่ายค่าไฟเพิ่มโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ นั่นหมายความว่าตัวการอาจจะอยู่ที่เครื่องปรับอากาศของเรานี่เองที่อาจมีปัญหาเรื่องน้ำยาทำความเย็นอยู่ก็เป็นได้
เลือกน้ำยาสำหรับแอร์อย่างไรถึงจะดี
- แบรนด์ที่ได้มาตรฐาน Purity Standards ตัวน้ำยาทำความเย็นแต่ละรุ่นและแต่ละยี่ห้อ จะมีสิ่งหนึ่งที่เรียกว่ามาตรฐานความบริสุทธิ์ หรือ Purity Standards ซึ่งเป็นตัวที่จะบอกเราได้ว่าองค์ประกอบของสารทำความเย็นนั้นมีความบริสุทธิ์มากน้อยเพียงใด ตรงนี้จะทำให้เราค่อนข้างมั่นใจได้ว่าน้ำยาที่ผ่านมาตรฐานจะมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้มากที่สุด
- คลอไรด์และความเป็นกรด ความเป็นกรดและสารประเภทคลอไรด์คือตัวการสำคัญที่จะทำให้ระบบทำความเย็นของแอร์นั้นมีปัญหาได้ โดยเฉพาะกับจุดที่ทำมาจากทองแดงและเหล็กของอุปกรณ์ ซึ่งจะถูกกัดกร่อนและเกิดเป็นรูรั่วได้ในที่สุด ผลคือแอร์จะทำงานผิดปกติและอาจหนักจนถึงต้องเปลี่ยนคอมเพรสเซอร์ ดังนั้นควรเลือกน้ำยาที่มีค่าคลอไรด์และความเป็นกรดที่ต่ำเอาไว้ก่อน
- ตะกอนในสารทำความเย็น ส่วนใหญ่ก็อย่างที่รู้กันว่าน้ำยาทำความเย็นคือสารที่เป็นของเหลว แต่ถ้าเราเลือกสารที่ไม่ได้คุณภาพมาใช้งาน ก็มีโอกาสที่จะทำให้เกิดตะกอนหรือการจับกลุ่มก้อนของสาร ซึ่งจะเข้าไปอุดตันในระบบทำความเย็นได้ ผลเสียคือนอกจากจะทำให้ระบบทำความเย็นมีปัญหาอย่างการลดความสามารถในการทำความเย็น หรือมีอาการเกิดลมร้อนแล้ว ก็ยังจะทำให้เกิดการสึกหรอของอุปกรณ์ได้ ไปจนถึงทำให้คอมเพรสเซอร์แอร์เสียหายใช้การไม่ได้
การเลือกน้ำยาสำหรับแอร์ที่ได้คุณภาพ ตรงกับความต้องการใช้งาน เลือกได้ตรงประเภท เหมาะสมกับตัวอุปกรณ์ คือสิ่งที่จะทำให้เรามั่นใจได้ทั้งในเรื่องของการใช้งาน การทำความเย็น และความปลอดภัยของทุกคนในครอบครัว และนี่คือสิ่งสำคัญที่เราไม่อยากให้คุณมองข้ามเด็ดขาด
ที่มาข้อมูล: ศูนย์รวมน้ำยาแอร์ , wechillmart
Comments 1