เชื่อว่าคนรุ่นใหม่ Gen Z หรือ Gen Y หันมาใส่ใจสุขภาพเพิ่มขึ้นกันไม่น้อย สังเกตได้จากธุรกิจฟิตเนสที่เดินไปไหนก็เห็นว่าคนแน่นขนัด ประกอบกับเน้นการรับประทานอาหารคลีนอย่างมาก อย่างไรก็ตามการเดินทางไปฟิตเนสที่ห่างไกลจากบ้านบ่อย ๆ หลายคนย่อมอยากซื้อเครื่องออกกำลังกายมาตั้งเสียเลย ซึ่งคงหนีไม่พ้นกับ ลู่วิ่งไฟฟ้า ที่ใคร ๆ ก็คิดถึงเป็นอันดับแรก เพื่อออกกำลังกายด้วยตนเองง่าย ๆ ดังนั้นเราจึงพามาทำความรู้จักกับลู่วิ่งแบบไฟฟ้าให้มากขึ้น ว่าแบบใดเหมาะกับสไตล์ของคุณ
รู้จักกับ 2 ประเภทของ ลู่วิ่งไฟฟ้า พร้อมแนะนำว่าคุณเหมาะกับแบบใด
- ลู่วิ่งชนิดเพื่อสุขภาพ (ระดับใช้ในบ้าน)
เหมาะสำหรับคนที่ไม่ได้เน้นการออกกำลังกายเป็นประจำ เนื่องจากกำลังไฟฟ้าสูงสุดไม่เกิน 3 แรงม้า มีขนาดเล็ก ไม่ได้มีออปชันเสริมมากนัก ปรับระดับความเร็วได้น้อย และราคาถูกมาก นอกจากนี้บางครั้งผู้ใช้งานอาจหันมาใช้ลู่วิ่งชนิดไม่ใช้ไฟฟ้าแทน เพราะสายพานเคลื่อนที่ได้เองโดยไม่ต้องพึ่งพาการออกแรงมากนัก แต่ต้องยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดอุบัติเหตุในระหว่างการใช้งานได้สูง จากราคาที่ต่ำนั่นเองทำให้ไม่มีการออกแบบด้านเซฟตี้เหมือนกับลู่วิ่งแบบไฟฟ้า - ลู่วิ่งชนิดเสริมสรรถนะ (ระดับฟิตเนส)
ใครที่ชอบออกกำลังกายหนัก ๆ ไม่ควรพลาดกับ ลู่วิ่งไฟฟ้า ชนิดนี้ ซึ่งเราเห็นลู่วิ่งชนิดนี้ได้ตามฟิตเนสทั่วไป เพราะมีออปชันเสริมหลากหลาย ปรับระดับความเร็วได้หลายระดับ บางครั้งอาจปรับพื้นผิวของลู่วิ่งในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน เช่น พื้นที่ขรุขระ หรือเนินสูง ทำให้ได้รับประสบการณ์ในหลายพื้นที่มากยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับคนที่ต้องการวิ่งในสถานการณ์จริง แต่ไม่มีเวลาออกซ้อมช่วงเช้า-เย็น เนื่องจากมีภาระงานจำนวนมาก และอยากได้บรรยากาศเหมือนฟิตเนส
เช็คลิสต์วิธีการเลือกซื้อ ลู่วิ่งไฟฟ้า ที่ควรรู้
1.สังเกตจากแรงม้า และความเร็ว
บางคนเข้าใจผิดว่าลู่วิ่งที่ใช้ไฟฟ้าทุกชนิด รองรับความเร็วสูงสุดได้เท่ากัน แต่ความจริงแล้วลู่วิ่งที่มีราคาสูงสามารถปรับระดับความเร็วได้หลากหลายกว่า พร้อมกับการปรับลักษณะพื้นที่ตามความชื่นชอบ นอกจากนี้ความเร็วที่มากขึ้น ยังช่วยให้คุณได้ทดลองกับท่าวิ่งอื่น ๆ เช่น การฝึกวิ่งแบบ interval ที่ต้องใช้ความเร็วสูงสุดในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ก่อนที่ลดความเร็วลงมาเพื่อพักฟื้นร่างกาย แล้วจึงเริ่มวิ่งต่อด้วยความเร็วสูงสุดใหม่อีกครั้ง ซึ่งลู่วิ่งที่ความเร็วต่ำจะทำท่านี้ไม่ได้นั่นเอง
2.พื้นที่ลู่วิ่งและการรองรับน้ำหนักก็สำคัญ
ใครเป็นคนน้ำหนักมาก ควรซื้อลู่วิ่งที่พื้นที่ขนาดใหญ่กว่าตัวพอสมควร เพราะต้องเผื่อโอกาสเกิดอุบัติเหตุในระหว่างการวิ่ง ซึ่งมีหลายครั้งที่ผู้วิ่งมือใหม่หกล้มบนลู่วิ่งฟิตเนส แต่หากพื้นที่มากพอก็จะช่วยลดโอกาสที่คุณจะกระแทกกับพื้นห้องโดยตรง การล้มบนลู่วิ่งจะปลอดภัยกว่ามาก และก่อนซื้อลู่วิ่งควรสังเกตว่ารองรับน้ำหนักสูงสุดได้เท่าไหร่ เนื่องจากเวลาวิ่งโดยปกติจะมีแรงกระแทกเพิ่มเติมจากการวิ่ง ทำให้ต้องคิดเผื่อว่าเวลาใกล้หมดแรง และเริ่มกระแทกกับพื้นลู่วิ่งแรง ๆ แล้วพื้นลู่วิ่งรองรับไหวหรือไม่
3.หน้าจอและโปรแกรม
หน้าจอของลู่วิ่งระดับฟิตเนสต้องยอมรับว่ามีฟังก์ชันให้เลือกหลากหลายจริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อสัญญาณมือถือเข้ากับลู่วิ่ง ทำให้สามารถวัดอัตราการเต้นของหัวใจ โปรแกรมฝึกฝนการออกกำลังกาย แถมฟังเพลงจากเครื่องลู่วิ่งโดยตรงก็ยังได้ ส่วนลู่วิ่งตามบ้านหน้าจออาจไม่มีฟังก์ชันแถมมาให้มากนัก ควรเน้นเลือกลู่วิ่งรุ่นมีสามารถพับเก็บได้เพื่อประหยัดพื้นที่ อีกทั้งลู่วิ่งที่พับเก็บได้จะดูแลรักษาได้ง่ายกว่าลู่วิ่งที่พับเก็บไม่ได้
มีวิธีบำรุงรักษาลู่วิ่งอย่างไรบ้าง
1.ปัญหาสายพานเอียง
เวลาใช้งานไปนาน ๆ หรือซื้อลู่วิ่งออกกำลังกายมือสองมักเจอปัญหานี้ หลายคนก็สงสัยว่าสายพานเอียงเป็นเรื่องใหญ่หรือไม่ ? คำตอบคือ เป็นเรื่องปกติ เพียงแต่สายพานจะเสียดสีกับขอบข้างลู่วิ่ง ทำให้บริเวณรอยขอบสายพานเกิดรอยขาวเป็นทางยาวเท่านั้น วิธีทางแก้ง่าย ๆ ที่ทำได้ด้วยตนเองคือ ปรับระดับสายพานให้ตึงมากขึ้น เช่น เกิดปัญหาด้านขวา ก็ปรับให้ด้านขวาตึงขึ้น แต่ไม่ควรปรับจนแน่นเกินไป เพราะมอเตอร์จะทำงานหนักเกินกว่าปกติ
2.หมั่นหยอดน้ำมันสายพาน
แน่นอนว่าลู่วิ่งก็เหมือนเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน การหยอดน้ำมันสายพานมีข้อดี คือ ลดแรงเสียดทานที่อาจก่อให้เกิดความร้อนกับมอเตอร์สูงเกินความจำเป็น โดยทั่วไปเมื่อซื้อลู่วิ่งแบบใช้ไฟฟ้าจะมีการแถมน้ำมันหล่อลื่นติดมาด้วยสำหรับบำรุงดูแลรักษา ซึ่งหลายคนละเลยการหยอดน้ำมันเครื่องจนสุดท้ายสายพานแห้ง และเกิดอาการเสื่อม โดยการหยอดน้ำมันเครื่องที่ถูกต้อง เพียงแค่หยอดใต้สายพานให้ลึกที่สุดเท่าที่ทำได้ ทุก 2 สัปดาห์ แต่ก็อย่าหยอดเยอะจนเกินไป ใช้ 1 ใน 3ของหลอดก็พอแล้ว
3.อย่าเปิดลู่วิ่งในระหว่างที่ไม่ได้ใช้งาน
เมื่อมอเตอร์ทำความร้อนต่อเนื่องยาวนาน มีโอกาสเกิดความร้อนสะสมจนเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ ซึ่งลู่วิ่งชนิดไฟฟ้านี้เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่ใช้กำลังไฟสูง เมื่อเกิดอุบัติเหตุไฟฟ้าลัดวงจรย่อมเกิดอันตรายไม่น้อย ดังนั้นหากไม่ได้ใช้งานควรปิดลู่วิ่ง และไม่ควรใช้งานเกินกว่า 100 นาที โดยไม่ได้หยุดพัก
ทั้งหมดนี้คือข้อควรรู้เบื้องต้นก่อนการเลือกซื้อลู่วิ่งแบบไฟฟ้า นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่ควรรู้เพิ่มเติมบางประการ เช่น เลือกซื้อสินค้าที่มีบริการหลังการขาย หรือรับประกันอย่างน้อย 1 ปี เพื่อให้มั่นใจได้ว่าลู่วิ่งมีประสิทธิภาพเต็มที่จริง และระวังการใช้งานที่หักโหมจนเกินไป เพราะหากเกิดปัญหาขึ้น การเคลมประกันอาจไม่ง่าย
ที่มาข้อมูล : megamaxfitness , tsmactive , vrunvride , nbasport
Comments 1