เวลาเปิดแอปพลิเคชันที่มีไว้สำหรับลงวิดิโอเชื่อว่าหลายคนต้องเคยเห็นช่อง ASMR ผ่านตากันมาบ้าง ซึ่งแน่นอนว่าถ้าเป็นคนที่ชอบฟังมากกว่าดูอาจจะชื่นชอบคลิปวิดีโอประเภทนี้ แต่สำหรับคนที่ชอบดูมากกว่าฟังอาจมีความสงสัย เพราะตลอดทั้งคลิปมีเพียงเสียงกับภาพนิ่งเท่านั้น หรือต่อให้มีเจ้าของช่องทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เกิดเสียงตามคอนเซ็ปต์ของช่องอยู่ในคลิปด้วย แต่ก็ไม่ได้มีการสื่อสารกับผู้เข้าชม ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนส่วนใหญ่จะไม่เข้าใจว่าการทำ ASMR คืออะไร และทำไมถึงได้รับความนิยม ดังนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมาหาคำตอบกัน
ไขข้อสงสัย ASMR คืออะไร ทำไมใคร ๆ ถึงนิยมฟัง
คำว่า ASMR ย่อมาจาก Autonomous Sensory Meridian Response แปลเป็นภาษาไทยว่าการตอบสนองต่อประสาทรับความรู้สึกแบบอัตโนมัติ หรือพูดให้เข้าใจง่าย ๆ คือ การตอบสนองระบบประสาทโดยอัตโนมัติหลังถูกกระตุ้นจากเสียง การมองเห็น หรือการสัมผัส ด้วยเหตุนี้เวลาได้ยินเสียงประเภทนี้คนส่วนใหญ่ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่ารู้สึกผ่อนคลาย มีสมาธิ หรือกระทั่งช่วยให้นอนหลับสบายขึ้น
และถึงแม้ว่าจะยังไม่มีข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนว่าเสียงประเภทนี้ช่วยให้สมองผ่อนคลายจริงหรือไม่ แต่ถึงอย่างนั้นก็มีการพยายามทดสอบเพื่อสนับสนุนทฤษฎีนี้อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการวิจัยของนักวิจัยชื่อ Giulia Poerio ที่ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการฟังเสียงกับการทำงานของสมอง โดยผู้เข้ารับการทดสอบส่วนใหญ่ต่างยืนยันว่าเสียงประเภทเอเอสเอ็มอาร์ ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น นอกจากนั้นยังมีงานวิจัยของมหาวิทยาลัย Sheffield ประเทศสหราชอาณาจักรที่พบว่าเสียงและวีดีโอประเภทเอเอสเอ็มอาร์ช่วยให้อัตราการเต้นของหัวใจต่ำลงและร่างกายรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น
ประเภทของเสียงหรือวีดีโอ Autonomous Sensory Meridian Response
จุดเริ่มต้นของการทำคลิปเสียงหรือวิดีโอประเภท ASMR มาจากการสนทนาบนเว็บบอร์ดด้านสุขภาพที่มีการพูดคุยกันเกี่ยวกับการได้ยินเสียงคุยหรือเสียงจากกิจกรรมเบา ๆ ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายขึ้น โดยช่องที่เริ่มทำเป็นช่องแรกคือคลิปเสียงกระซิบคน หลังจากนั้นจึงมีอีกหลาย ๆ ช่องตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นการทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่าง การกิน การแกะพัสดุสินค้า หรือเสียงธรรมชาติอย่าง เสียงฝนตก เสียงฟืนไฟ อย่างไรก็ตามหากให้จัดรูปแบบของคลิปหรือวิดีโอได้ทั้งสิ้น 4 แบบ ได้แก่
- เสียงจากธรรมชาติ แบบแรกคือ เสียงจากธรรมชาติ อย่างเสียงน้ำไหล เสียงน้ำตก เสียงคลื่นทะเล เสียงนกร้อง เสียงสัตว์ร้อง เสียงลมพัด หนึ่งในเสียงยอดฮิตที่คนส่วนใหญ่นิยมฟังเวลานอน เพราะเสียงจากธรรมชาติทั้งช่วยให้รู้สึกจิตใจสงบ ผ่อนคลาย ทำให้นอนหลับได้ง่าย และคุณภาพการนอนดีขึ้นด้วย สำหรับคลิปเสียงจากธรรมชาติอาจเป็นเสียงจากธรรมชาติจริงหรือใช้เทคนิคอื่น ๆ เพื่อให้ได้เสียงที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติ
- เสียงภายในห้อง แบบที่สองคือ เสียงภายในห้อง เป็นเสียงจำลองบรรยากาศต่าง ๆ อย่างเสียงบรรยากาศออฟฟิศ เสียงบรรยากาศในร้านอาหาร เสียงบรรยากาศในห้องสมุด เสียงบรรยากาศในบาร์ สำหรับเสียงจำลองบรรยากาศเหมาะสำหรับคนที่ไม่มีสมาธิเวลาอ่านหนังสือหรือทำงานที่บ้าน เพราะเสียงนี้จะให้ความรู้สึกเหมือนอยู่นอกสถานที่และทำให้มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ทำมากขึ้น
- เสียงจากร่างกาย แบบที่สามคือ เสียงจากร่างกายหรือเสียงที่เกิดจากการกระทำกับอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อย่างเสียงตัดผม เสียงเการ่างกาย เสียงปั่นหู เสียงแคะหู เสียงหักกระดูก เสียงขบฟัน ซึ่งถึงจะเป็นรูปแบบเสียงที่ได้รับความนิยม แต่บางคนอาจไม่ชอบและรู้สึกกลัวกับเสียงประเภทนี้
- เสียงเพิ่มสมาธิ ลักษณะของเสียงเพิ่มสมาธิจะเป็นเสียงที่เกิดจากการทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งซ้ำไปซ้ำมาวนอยู่อย่างนั้น อย่างเสียงกดคีย์บอร์ด เสียงดินสอขีดกระดาษ เสียงการเขียนหนังสือ เสียงหั่นผัก เสียงทำอาหาร ซึ่งจะช่วยให้ผู้ฟังสามารถจับโฟกัสต่อสิ่งต่าง ๆ ได้มากขึ้น
แนะนำ 3 หูฟังสำหรับผู้ชอบฟัง ASMR
สำหรับคนที่สนใจอยากเริ่มฟัง แนะนำว่าให้ซื้อหูฟังมาใส่ในระหว่างฟัง ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มอรรถรสและช่วยสร้างสมาธิมากขึ้น วันนี้เราจึงมีหูฟัง 3 แบบ 3 สไตล์ มาฝาก แต่จะมีแบบไหนบ้างนั้น มาดูกันเลย
- Air3 Deluxe Bluetooth 5.2 จาก Soundpeats
หูฟังบลูทูธไร้สายทรง Earbuds รองรับการเชื่อมต่อ Bluetooth 5.2 ระยะเชื่อมต่อ 10 เมตร มาตรฐานการกันน้ำระดับ IPX5 สามารถใส่เล่นกีฬาและออกกำลังกายได้ มีฟังก์ชันรับสายด้วยไมโครโฟนแบบคู่ ตัดเสียงรบกวน เซ็นเซอร์หยุดเล่นเพลง และใช้งานต่อเนื่องอย่างน้อย 4 – 5 ชั่วโมง
- หูฟังแบบคล้องคอ จาก BASIKE
หูฟังบลูทูธแบบคล้องคอคุณภาพเสียง Stereo รองรับการเชื่อมต่อ Bluetooth 5.0 มีช่องเสียบการ์ดความจำ ระยะเชื่อมต่อ 10 เมตร รับสายได้ กันน้ำกันเหงื่อ ออกมาให้รับกับสรีระจึงใส่เล่นกีฬาได้ ผลิตจากวัสดุที่ไม่เป็นพิษต่อผิว และใช้งานต่อเนื่อง 12 ชั่วโมง
- หูฟังครอบหู จาก TaiXiangMei
หูฟังบลูทูธแบบครอบหู ดีไซน์สวย ออกแบบสีสันสดใส มีแสงไฟหลากสี น้ำหนักเบา เสียงคมชัด พับเก็บได้ รองรับการเชื่อมต่อ Bluetooth 5.0 และที่สำคัญมีให้เลือกทั้งแบบมีหูแมวและไม่มีหูแมว แถมยังมีหลายสีให้เลือกอีกด้วย
จะเห็นได้ว่าคลิปเสียงหรือวิดีโอ Autonomous Sensory Meridian Response นั้นมีความน่าสนใจขนาดไหน แม้ว่ายังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนว่ามีผลต่อการทำงานของสมอง แต่ถ้าวันไหนต้องการสมาธิหรือนอนไม่หลับ ลองเปิดคลิปเสียงหรือวิดีโอเอเอสเอ็มอาร์อาจช่วยให้ผ่อนคลายมากขึ้นก็ได้
ที่มาข้อมูล: tci , thairath , ofm , bangkokbiznews