แผ่นรองข้อมือคีย์บอร์ด ไอเทมที่จะเข้ามาเปลี่ยนให้อาการปวดตามข้อมือที่เกิดจากการทำงานหนักของเราเบาลง และยังช่วยป้องกันไม่ให้อาการที่ว่านี้ลุกลามหนักไปจนทำให้เกิดโรคออฟฟิศซินโดรมอื่น ๆ ได้อีกด้วย ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องนั่งทำงานนาน ๆ นอกจากเก้าอี้เพื่อสุขภาพแล้ว นี่คือหนึ่งไอเทมที่คุณต้องซื้อเอาไว้ด้วยเช่นกัน
แผ่นรองข้อมือคีย์บอร์ด ไอเทมที่คนรักงานต้องมี
คุณเคยรู้สึกไหมว่า หลังจากนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ไปสักพัก นอกจากอาการปวดหลัง คอ บ่า ไหล่ ที่เป็นอยู่แล้ว บางครั้งก็อาจมีอาการปวดรู้สึกชาบริเวณข้อมือร่วมด้วย ซึ่งปล่อยไว้สักพักก็จะหายไปเองบ้าง ไม่หายบ้าง จนต้องไปนวดมือเพื่อให้รู้สึกดีขึ้น
ถ้าคุณเคยเป็นอาการที่ว่ามานี้ นี่คือช่วงอันตรายที่เป็นสัญญาณบอกว่าคุณกำลังจะเป็นหนึ่งในอาการร่วมของออฟฟิศซินโดรมอยู่ กับโรค Carpal Tunnel Syndrome ที่สาเหตุเกิดจากเส้นประสาทกดทับข้อมือ เพราะเมื่อคุณนั่งทำงานหน้าคอมไปนาน ๆ หากวางระดับของข้อมือไม่อยู่ในระดับเดียวกับแป้นพิมพ์ก็จะทำให้เกิดการกดทับที่ว่านี้ได้ แน่นอนว่าสิ่งที่จะช่วยเราได้ก็คือ ที่รองข้อมือคีย์บอร์ด นี้นี่เอง
รีวิว แผ่นรองข้อมือคีย์บอร์ด แก้ออฟฟิศซินโดรมตัวไหนน่าซื้อไว้ใช้
ตอนนี้เชื่อว่าคุณคงเห็นความสำคัญของการหาที่รองข้อมือมาใช้แล้ว ต่อไปก็จะเป็นรีวิวแผ่นรองที่เราอยากจะนำเสนอข้อมูลดี ๆ ให้คุณ เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกซื้อแผ่นรองข้อมือเอาไว้ใช้งานกัน ซึ่งสนนราคาไม่ได้แพงอย่างที่คิด ยิ่งเมื่อเทียบกับประโยชน์ต่อสุขภาพแล้วคุ้มค่ากับการซื้อหามาใช้งานอย่างยิ่ง
- Wrist Rest Keyboard EGA Type WR1
เปิดงานรีวิวตัวแรกของเราที่แผ่นรองข้อมือจากแบรนด์ EGA ในรุ่น WR1 ซึ่งวัสดุเป็นหนังคุณภาพให้สัมผัสที่ดีกว่า ตัวรุ่นนี้จะมีให้เลือก 3 ขนาด โดยทุกรุ่นจะมีขนาดเท่ากันในส่วนของความสูงกับความกว้าง คือ 2.5 x 9 cm ส่วนความยาวไซส์ S จะอยู่ที่ 31.3 cm ซึ่งเหมาะกับคีย์บอร์ดสเกล 60% ไซส์ M อยู่ที่ 37 cm เหมาะกับคีย์บอร์ดสเกล 80% และไปจนถึงไซส์ L ที่ยาวสุด 45 cm เหมาะกับคีย์บอร์ดสเกล 100%
ในส่วนของการออกแบบ วัสดุที่ใช้จะเป็นหนังสีดำคุมโทนที่สามารถนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค แบบไหนก็เข้ากัน และยังมีส่วนที่เป็นแผ่นกันลื่นด้านข้างทำให้สามารถใช้งานได้สะดวก ไม่หลุดขยับไปมาให้เสียอารมณ์ ถือเป็นอีกหนึ่งไอเทมที่เหมาะกับคนต้องนั่งทำงานหน้าคอมนาน ๆ เป็นอย่างมาก แล้วที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือเวลาเรานำแผ่นรองไปวางติดเข้ากับคีย์บอร์ด ส่วนล่างของแผ่นรองจะเข้ารูปพอดีกับคีย์บอร์ดจนเหมือนกับเป็นแผ่นเดียวกัน ทำให้เวลาใช้งานไม่รู้สึกถึงช่องว่างระหว่างคีย์บอร์ดกับแผ่นรองข้อมือ
- Keychron Wooden Palmrest for K4
ตัวนี้เป็นแผ่นรองข้อมือที่ออกแบบมาให้ใช้งานกับคีย์บอร์ดของ Keychron โดยเฉพาะ (แต่จริง ๆ แล้วก็สามารถนำไปใช้งานกับยี่ห้ออื่นได้หมด) ซึ่งรุ่นที่เรารีวิวนี้จะเป็นรุ่น K4 ที่มีขนาด 379 x 80 x 15 mm เหมาะสำหรับการนำไปใช้งานกับคีย์บอร์ดไซส์ 80% ขึ้นไป แต่ถ้าใครอยากได้รุ่นที่เล็กลงมาหน่อยก็ลอง K2 ที่มีขนาดเล็กกว่าก็ได้
จุดเด่นที่น่าสนใจของแผ่นรองข้อมือตัวนี้ก็คือการออกแบบและวัสดุ ซึ่งตัวแผ่นใช้ไม้วอลนัทอเมริกันพรีเมี่ยม เป็นไม้เนื้อแข็งที่มีความคล่องตัว กับดีไซน์ที่ช่วยรองรับข้อมือได้อย่างดีเยี่ยม โดยสีของแผ่นรองจะเป็นสีไม้วอลนัทน้ำตาลเข้ม เหมาะสำหรับคนที่อยากได้แผ่นรองที่มีความเรียบหรูเป็นพิเศษ บอกเลยว่าถ้าคุณใช้คีย์บอร์ดของ Keychron อยู่ นี่คือไอเทมที่เข้ากันได้ดีมาก
วิธีเลือก ที่รองข้อมือคีย์บอร์ด ให้ลงตัวกับรูปแบบการทำงาน
ถ้าข้อมูลจากรีวิวที่เราคัดมานำเสนอให้คุณยังไม่เพียงพอที่จะช่วยให้คุณตัดสินใจเลือกแผ่นรองข้อมือได้ เรามาลองดูวิธีการเลือกเพิ่มเติมที่จะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้นทางนี้กัน
- ระดับความสูงให้เท่ากับคีย์บอร์ดที่ใช้งาน เพราะตามหลักของการวางข้อมือที่ถูกต้องคือการทำให้ระดับของข้อมือสูงเท่ากับคีย์บอร์ด ดังนั้นที่รองข้อมือของคุณก็ควรจะมีระดับความสูงเท่า ๆ กับคีย์บอร์ดตัวโปรดของคุณ
- ความยาวควรมากกว่าคีย์บอร์ด เพื่อให้คุณสามารถเคลื่อนไหวเวลาทำงานและขยับข้อมือได้อย่างสะดวก ที่รองข้อมือก็ควรจะเป็นแบบที่ยาวกว่าตัวคีย์บอร์ดเล็กน้อย จะช่วยให้คุณสามารถวางมือได้ในท่าที่ถนัดได้มากกว่า กล้ามเนื้อมือก็จะผ่อนคลายได้ดีกว่าด้วย
- วัสดุการผลิตที่ยืดหยุ่นและนุ่มพอดี สุดท้ายคือที่รองข้อมือควรผลิตจากวัสดุที่มีความยืดหยุ่น มีความนุ่ม ช่วยกระจายน้ำหนักได้ดี และอย่าลืมดูด้านล่างของที่รองด้วยว่ามีที่กันลื่นติดมาด้วยหรือไม่
เพื่อสุขภาพที่ดีและเพื่อป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรมที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณในระยะยาว เราขอแนะนำให้หาที่รองข้อมือคีย์บอร์ดมาไว้ใช้งานกันด้วย ลองใช้ไปสักพักพอชินแล้วก็จะรู้เลยว่าอุปกรณ์ชิ้นนี้คือตัวช่วยลดผลกระทบของการนั่งทำงานนาน ๆ ได้อย่างมาก ส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกาย ถ้าเทียบราคาแล้วถือว่าคุ้มค่ามากกับผลที่ได้รับ
ที่มาข้อมูล: rehabcareclinic