การดู ฤกษ์สึกพระ 2566 อันที่จริงแล้วเป็นเรื่องความเชื่อส่วนบุคคลที่ควรใช้วิจารณญาณในการรับฟัง จะดูหรือไม่ดูก็ได้ แต่ตามหลักความเชื่อทางศาสนาแล้ว การดูฤกษ์ยามก่อนทำอะไรจะเป็นสิ่งที่ดี อย่างในการบวชที่จะต้องมีการดูฤกษ์ยามก่อนว่าควรบวชวันที่เท่าไหร่ถึงจะดี
ในการสึกก็เช่นเดียวกัน ที่เชื่อว่าการดู ฤกษ์ลาสิกขา 2566 ก่อนสึกจะช่วยให้สึกออกมาสามารถใช้ชีวิตได้อย่างผู้ที่สงบสุขและไม่เป็นผู้วิกลจริต เชื่อว่าหากสึกโดยไม่ดูฤกษ์ยามหรือสึกออกมาในวันไม่ดีก็จะทำให้ชีวิตไม่สงบสุข มีแต่ความเดือนร้อน เหมือนการมีวัตถุมงคลเพื่อยึดเหนี่ยวจิตใจ ทำให้หลายคนจึงเลือกที่จะดูฤกษ์ก่อนสึกตามความเชื่อเพื่อความสบายใจนั่นเอง
ฤกษ์สึกพระ 2566 ดูอย่างไร ดูได้ที่ไหน?
- ดูจากพระสงฆ์ การดูฤกษ์สึกพระสามารถขอดูจากพระสงฆ์ที่บวชให้หรือรับดูฤกษ์ได้ โดยส่วนมากแล้วพระท่านจะดูฤกษ์สึกจากการนำวัน เดือน ปีเกิดของผู้บวชไปดูเวลาตกฟากของดาวเจ้าการฤกษ์เพื่อให้ออกมาตรงกับวันที่ดี แล้วจึงค่อยสึกออกมา
- ดูฤกษ์สึกออนไลน์ ปัจจุบันนี้การดูฤกษ์สึกพระเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น เพราะในแต่ละปีจะมีหมอดูดูเอาไว้ให้หมดแล้วว่าในแต่ละปีนั้นมีฤกษ์บวชและฤกษ์สึกวันไหนที่เป็นวันดีบ้าง โดยจะคำนวณออกมาเป็นเดือน ๆ เพื่อให้เลือกฤกษ์สึกได้ตรงกับวันที่สะดวก
- ดูฤกษ์สึกจากตำรา สำหรับใครที่มีความเชื่อแบบโบราณก็สามารถหาฤกษ์สึกได้ด้วยตัวเองจากหนังสือตำราได้
เช็คเลย ฤกษ์สึกพระ ประจำปี 2566
ฤกษ์สึกพระเดือนสิงหาคม
- วันที่ 3 สิงหาคม 2566
- วันที่ 9 สิงหาคม 2566
- วันที่ 14 สิงหาคม 2566
- วันที่ 17 สิงหาคม 2566
- วันที่ 19 สิงหาคม 2566
- วันที่ 24 สิงหาคม 2566
ฤกษ์สึกพระเดือนกันยายน
- วันที่ 1 กันยายน 2566
- วันที่ 6 กันยายน 2566
- วันที่ 13 กันยายน 2566
- วันที่ 18 กันยายน 2566
- วันที่ 23 กันยายน 2566
ฤกษ์สึกพระเดือนตุลาคม
- วันอาทิตย์ที่ 8 ตุลาคม 2566
- วันพุธที่ 11 ตุลาคม 2566
- วันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม 2566
- วันอังคารที่ 17 ตุลาคม 2566
- วันอังคารที่ 31 ตุลาคม 2566
ฤกษ์สึกพระเดือนพฤศจิกายน
- วันที่ 4 พฤศจิกายน 2566
- วันที่ 9 พฤศจิกายน 2566
- วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566
- วันที่ 15 พฤศจิกายน 2566
- วันที่ 19 พฤศจิกายน 2566
ฤกษ์สึกพระเดือนธันวาคม
- วันที่ 4 ธันวาคม 2566
- วันที่ 7 ธันวาคม 2566
- วันที่ 14 ธันวาคม 2566
- วันที่ 18 ธันวาคม 2566
- วันที่ 20 ธันวาคม 2566
ฤกษ์สึกพระ กับขั้นตอนการสึกที่ควรรู้
เมื่อภิกษุได้ทำการดูฤกษ์สึกพระมาแล้ว ให้เตรียมตัวเข้าสู่อุโบสถเพื่อเตรียมกล่าวคำลาสิกขา โดยภิกษุที่จะกล่าวคำลาสิกขานั้นจะต้องแสดงอาบัติให้หมดก่อน เข้าลาสิกขาต่อหน้าพระผู้ใหญ่และภิกษุท่านอื่นร่วมเป็นพยาน โดยกล่าว
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ
แล้วตามด้วยบทลาสิกขา
สิกขัง ปัจจักขามิ ข้าพเจ้าลาสิกขา
คิหีติ มัง ธาเรถะ ขอท่านทั้งหลายจงจำข้าพเจ้าว่าเป็นคฤหัสถ์
จากนั้นภิกษุกราบ 3 หนและออกไปผลัดเปลี่ยนเป็นผ้าขาวโจงกระเบน และห่มเฉวียงผ้าขาวพาดบ่า
เข้ากราบพระสงฆ์ 3 หน
กล่าวพระไตรสรณคมน์ เพื่อแสดงตนเป็นอุบาสก
เอสาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ
ตัง ภะคะวะตัง สะระณัง คัจฉามิ.
ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ,
อุปาสะกัง มัง สังโฆ ธาเรตุ,
อัชชะตัคเค ปาณุเปตัง สะระณัง คะตัง.
ข้าพเจ้านั้นถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพานนานแล้วนั้น กับพระธรรม
และภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระสงฆ์จงจำข้าพเจ้าว่า
เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิตตั้งแต่ วันนี้เป็นต้นไป
จากนั้นพระผู้ใหญ่ผู้เป็นประธานจะกล่าวคำให้ศีล (ในขั้นตอนนี้ภิกษุที่ลาสิกขาถือเป็นอุบาสกแล้ว)
เมื่อจบแล้วให้กราบ 3 ครั้ง
ถือบาตรน้ำมนตร์ออกไปเตรียมอาบน้ำมนตร์
พระสงฆ์หลั่งน้ำพระพุทธมนต์ และสวดบทชัยมงคลคาถา
อุบาสกใหม่ผลัดผ้าขาวออกและอาบน้ำเปลี่ยนชุดนุ่งผ้าสำหรับคฤหัสถ์
กราบลาพระสงฆ์ 3 ครั้ง เป็นอันเสร็จพิธีลาสิกขา
และนี่คือสาระดี ๆ เกี่ยวกับการสึกพระและ ฤกษ์สึกพระ 2566 ที่นำมาฝากกัน โดยหลังการลาสิกขานั้นเชื่อว่าผู้อุบาสกที่เพิ่งลาสิกขามาใหม่ ๆ ไม่ควรออกไปไหนหรือเดินทางไกลอย่างน้อย 3 วัน เพราะอุบาสกที่เพิ่งสึกมาถือเป็นผู้มีบุญ อาจมีสิ่งที่มองไม่เห็นมาขอส่วนบุญและทำให้เกิดอุบัติเหตุหรืออันตรายต่าง ๆ ได้ และหลังจากที่ลาสิกขาแล้วควรเข้าวัดไปทำวัตรเย็นติดต่อกัน 3 วันเพื่อความเป็นสิริมงคล
ที่มาข้อมูล: piteethai, dhammathai , trueid