สำหรับมนุษย์ออฟฟิศ การนำงานมาทำที่บ้านถือเป็นเรื่องปกติ ยิ่งช่วงโควิดระบาดหนักด้วยแล้ว เรียกได้ว่าบ้านกลายเป็นที่ทำงานไปเลย หลังสถานการณ์โควิดคลี่คลาย บริษัทจำนวนไม่น้อยได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน โดยเน้น work from home มากขึ้น ลดการเดินทางไปที่ทำงาน ทำให้ชาวออฟฟิศจำเป็นต้องเปลี่ยนโฉมห้องโล่ง ๆ ให้เป็นห้องทำงาน ด้วยการใช้ โต๊ะปรับระดับ ที่ช่วยทำงานได้ดีกว่าโต๊ะแบบปกติ ซึ่งมาดูกันดีกว่าว่าโต๊ะที่ปรับระดับได้ มีการใช้งานอย่างไร
การใช้งาน โต๊ะปรับระดับ เบื้องต้น
- ปรับระดับความสูงให้เหมาะกับร่างกาย เมื่อรู้สึกถึงความไม่สะดวกสบายระหว่างการทำงาน สามารถปรับระดับตามความเหมาะสม ซึ่งระดับที่แนะนำ คือ ช่วงความสูงที่ไม่ต้องก้มหน้าเวลามองหน้าจอคอมพิวเตอร์, วางมือบนแป้นพิมพ์ได้พอดี และเท้าสองข้างเหยียดได้สุด หากฝืนใช้งานทั้งที่ความสูงไม่เข้ากับลักษณะทางกายภาพของเราแล้ว มีโอกาสเกิดอาการปวดต้นคอ เสียสมาธิในระหว่างทำงาน และนำมาสู่โรคร้ายแรงต่าง ๆ ได้
- ใช้งานควบคู่ไปกับเก้าอี้สำนักงาน เก้าอี้สำนักงานถือเป็นไอเทมที่เข้ากับโต๊ะปรับความสูงเป็นอย่างดี เพราะมีพนักพิงแขน และวัสดุสำหรับรองศีรษะ ทำให้จัดท่าทางให้เข้ากับความสูงของโต๊ะได้ง่าย ช่วยให้อยู่ในท่านั่งที่ไม่ต้องเสี่ยงต่อการเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมอีกด้วย
- อย่าวางโต๊ะในทิศทางหันหน้าเข้าแสงแดด โต๊ะที่ปรับระดับบางรุ่นเป็นระบบไฟฟ้า หากวางไว้ในทิศทางแดดส่องถึง อายุการใช้งานย่อมสั้นกว่าการวางไว้ในมุมอับ และไม่ควรวางโต๊ะหันหน้าเข้าหาทิศทางที่แสงแดดส่องมา เพราะคุณจะเสียสมาธิในการทำงานได้ง่าย เพราะแสงแยงเข้าตา และแล็ปท็อปจะร้อนเร็ว แบตเตอรี่หมดไว จากการโดนความร้อนจากแสงแดด
วิธีเลือกซื้อ โต๊ะแบบปรับระดับ ที่ควรรู้
- วัสดุของโต๊ะ วัสดุของโต๊ะเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ เพราะวัสดุแต่ละประเภทมีความทนทานและจุดเด่นแตกต่างกัน เช่น โต๊ะไม้อัดที่เงางาม น้ำหนักเบา วางในบ้านก็สร้างความโดดเด่นเป็นอย่างดี แต่มีข้อเสีย คือ อาจเกิดรอยขีดข่วนได้ง่าย พองตัวเมื่อโดนน้ำ ส่วนโต๊ะเหล็กจะหนักกว่าโต๊ะรูปแบบอื่น ขนย้ายยาก ไม่เหมาะนักสำหรับตกแต่งบ้าน แต่คงทน ใช้งานได้นาน ซึ่งวัสดุของโต๊ะยังมีอีกหลายประเภทที่ควรทราบก่อนตัดสินใจซื้อ
- ฟังก์ชันเสริม โต๊ะบางรุ่นเป็นมากกว่าโต๊ะใช้วางของธรรมดา เพราะมีปลั๊กไฟ + ช่อง USB รองรับการชาร์จไฟได้ทั้งโน้ตบุ๊กและสมาร์ทโฟน จึงช่วยสนับสนุนการทำงานที่บ้านได้เป็นอย่างดี
- ขนาดและความกว้าง ขนาดของโต๊ะควรสัมพันธ์กับขนาดของห้อง หากห้องขนาดเล็ก ควรใช้งานโต๊ะขนาดกลาง โต๊ะที่ขนาดใหญ่เกินไปจะทำให้ห้องดูเล็กลง และถ้าไม่มีความจำเป็นต้องวางสิ่งของบนโต๊ะจำนวนหลายชิ้น หรือต้องรองรับแขกผู้มาเยือน โต๊ะขนาดเล็กและกลางก็เป็นคำตอบอย่างดี
ประโยชน์ของ โต๊ะปรับระดับได้ ที่ให้ผลดีมากกว่าที่คาดคิด
- ช่วยดูแลสุขภาพ นอกจากหลีกเลี่ยงอาการของโรคออฟฟิศซินโดรมแล้ว โต๊ะที่มีคุณสมบัติปรับระดับ ยังป้องกันโรคร้ายแรงอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น การไหลเวียนโลหิต โรคหัวใจ หรือแม้แต่ป้องกันโรคกระดูกสันหลังคดจากการนั่งผิดท่า
- ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ โต๊ะที่มีคุณสมบัติปรับระดับได้ จะช่วยให้ผู้ใช้งานมีสมาธิดีเยี่ยม เพราะออกแบบมาเพื่อรองรับกับอิริยาบถที่เปลี่ยนไป เช่น หากรู้สึกเมื่อยก็สามารถยืดขาให้อยู่บนที่วางเท้าก็ได้ หรือปรับให้ความสูงของคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับสายตามากขึ้น และเหมาะแก่ผู้ใช้งานที่พิมพ์สัมผัสเป็นอย่างยิ่ง เพราะไม่ต้องก้มหน้าดูตัวอักษรบนแป้นพิมพ์เลย จึงทำให้เรารู้สึกทำงานได้นานมากขึ้น ไม่ต้องเสียเวลายืดเส้นยืดสาย จากอาการปวดเมื่อยตามตัว
- รองรับการทำงานในหลายรูปแบบ ไม่ใช่งานทุกประเภทที่เหมาะสำหรับการใช้โต๊ะปกติ เช่น งานสถาปนิกที่ต้องเขียนแบบ และใช้พื้นที่ค่อนข้างมาก และการทำโมเดลของสายอาชีพนี้ถือเป็นเรื่องปกติที่ถึงแม้มีโปรแกรมออกแบบภาพ 3D ให้ใช้งานแล้ว แต่การสร้างโมเดลขึ้นมาจริง ๆ ย่อมช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น ซึ่งงานแบบนี้จะอาศัยการยืนทำงานเหมือนกับวิศวกรเช่นกัน
แนะนำแบรนด์ โต๊ะปรับระดับ ที่น่าสนใจ
1. GASMBUY
โต๊ะปรับระดับไฟฟ้ายกโครงได้ 70 – 120 เซนติเมตร รับน้ำหนักได้สูงสุด 140 กิโลกรัม วัสดุทำมาจากไม้เนื้อแข็งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีความคงทนสูง และมีระบบ interface ควบคุมการยกระดับความสูงของโต๊ะช่วยให้ใช้งานไม่ยุ่งยาก ที่สำคัญระหว่างโต๊ะอยู่ในช่วงยกขึ้น-ลดระดับลง แทบไม่มีเสียงดังรบกวนเลย
2. TOZIENT Ergonomic Desk
โต๊ะยกระดับเพื่อสุขภาพ ยกโครงได้ 70 – 120 เซนติเมตร รับน้ำหนักได้สูงสุด 140 กิโลกรัม ขอบโต๊ะความหนา 25 มิลลิเมตร ลักษณะโค้งมน มั่นใจได้ว่าจะไม่ชนขอบจนได้รับอันตราย วัสดุด้านหน้าโต๊ะเป็นไม้เคลือบเมลามีน ผิวเรียบสม่ำเสมอ ทนทานต่อการใช้งานเช็ดทำความสะอาดง่าย เลื่อนระดับความสูงได้สะดวกสบาย
นอกจากใช้ โต๊ะปรับระดับ เพื่อช่วยดูแลสุขภาพแล้ว การหมั่นออกกำลังกายก็เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากการนั่งทำงานทั้งวันมีโอกาสที่เกิดไขมันสะสมบริเวณช่องท้อง ประกอบกับห้องทำงานที่เปิดแอร์ตลอดเวลา ก็มีส่วนที่ทำให้เราเป็นโรคหวัดได้เช่นกัน ดังนั้นเมื่อทำงานเสร็จแล้วควรหาโอกาสมาออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง หรือถ้าไม่มีเวลาจริง ๆ อาจปรับเปลี่ยนวิธีการบางอย่างในชีวิตประจำวัน เช่น เดินขึ้นลงบันไดแทนการใช้ลิฟต์ หรือเดินให้ไกลขึ้นอีกสักหน่อยแทนการใช้ยานพาหนะ เป็นต้น
ที่มาข้อมูล: mercular , nocnoc , standingdeskthai